การปรับตัวด้านการเรียนการสอนภายใต้ยุควิถีใหม่ของนักศึกษา สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะนิติรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
นักศึกษา; สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์: การปรับตัว; ยุควิถีใหม่บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์การศึกษา 1) เพื่อศึกษาความพร้อมของนักศึกษาในการเรียนออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนออนไลน์ และ 3) เพื่อข้อเสนอแนะการปรับตัวของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนออนไลน์ โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative research) กลุ่มตัวอย่างการวิจัยคือ นักศึกษาสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ จำนวน 94 คน ซึ่งใช้วิธีการสุ่มแบบเครจซี่และมอร์แกน (krejcie & morgan, 1970) และเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ Google Form แล้วนำเข้าสู่การวิเคราะห์ทางสถิติ ได้แก่ ร้อยละ (percentage) ค่าเฉลี่ย (mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (standard deviation) และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (content analysis)
ผลการวิจัย พบว่า 1) ความพร้อมของนักศึกษาในการเรียนออนไลน์ พบว่า นักศึกษามีความพร้อมมากที่สุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ความพร้อมด้านเทคโนโลยี ( x̅ = 4.49 , S.D. = 0.64) ความพร้อมด้านผู้เรียน ( x̅ = 4.26 , S.D. = 0.74) และความพร้อมด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ( x̅ = 4.21 , S.D. = 0.72) 2) ความต้องการของนักศึกษาที่มีต่อการเรียนการสอนออนไลน์ พบว่า ความต้องการ ด้านการสอนอย่างมีระบบชัดเจน ( x̅ = 4.57 , S.D. = 0.75) ความต้องการด้านกิจกรรมการเรียนมีความเหมาะสมตามสถานการณ์ ( x̅ = 4.40 , S.D. = 0.72) และความต้องการด้านระยะการเวลาการเข้าเรียน ( x̅ = 4.39, S.D. = 0.68) และ 3) ข้อเสนอแนะการปรับตัวของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนออนไลน์ พบว่า (1) อยากให้มีการเก็บคะแนนทุกครั้งหลังเรียนเสร็จ (2) ปรับการเรียนการสอนตามสถานการณ์ (3) อยากให้มีการสอดแทรกกิจกรรมต่าง ๆ ที่เหมาะสมระหว่างเรียน (4) อยากให้มีเนื้อหาและประเด็นการเรียนใหม่ ๆ และน่าสนใจ (5) เปิดโอกาสให้นักศึกษาสามารถโต้ตอบ และ (6) บรรยายโดยใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย