การใช้สื่อสังคมออนไลน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลโนนหอม อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ประชัน สร้อยปลิว คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชานวัตกรรมการสื่อสารการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • วิทยาธร ท่อแก้ว
  • กานต์ บุญศิริ

คำสำคัญ:

สื่อสังคมออนไลน์, องค์การบริหารส่วนตำบลโนนหอม, จังหวัดสกลนคร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อค้นหาระดับการสื่อสารและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลโนนหอม 2) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลโนนหอม โดยมุ่งเน้นสำรวจประชาชนตำบลโนนหอม อำเภอเมืองสกลนคร  จังหวัดสกลนคร ที่มีสิทธิเลือกตั้ง จำนวนทั้งหมด 6,858 คน โดย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามจำนวนกลุ่มตัวอย่าง 400 คน ทำ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistic) สถิติเชิงอนุมาน (Inductive Statistics) และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา (Content analysis) ผลการศึกษาดังนี้ ประชาชนตำบลโนนหอม อำเภอเมืองสกลนคร  มีส่วนร่วมทางการเมืองในภาพรวมอยู่ในระดับต่ำ ส่วนรายด้าน พบว่า ประชาชน มีส่วนร่วมทางการเมืองเพียง 2 ระดับเท่านั้นได้แก่ ระดับปานกลาง และต่ำ ซึ่งรายด้านที่อยู่ระดับ ปานกลาง ได้แก่ ด้านการใช้สิทธิเลือกตั้ง ด้านการติดตามข่าวสารทางการเมือง และด้านการ สนทนาเรื่องการเมือง ส่วนรายด้านที่อยู่ระดับต่ำ ได้แก่ ด้านการชุมนุมทางการเมือง ด้านการติดต่อกับนักการเมือง และด้านการเข้าร่วมทำกิจกรรมทางการเมืองกับพรรคการเมืองและกลุ่มทางการเมืองต่าง ๆ ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ได้แก่ ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ อายุ และสถานภาพ ปัจจัยทางสังคมและเศรษฐกิจ ได้แก่ อาชีพ การเป็นสมาชิกกลุ่มทางสังคม บทบาทหน้าที่ในครอบครัว และบทบาทหน้าที่ในชุมชน ปัจจัยสภาพแวดล้อมทางการเมือง ได้แก่ การรับรู้ข่าวสารทางการเมือง และการ พัฒนาทางการเมือง ปัจจัยทางจิตวิทยาทางการเมือง ได้แก่ ความสนใจทางการเมือง พฤติกรรม ทางการเมือง และการกล่อมเกลาทางการเมือง ส่วนปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนมีจำนวน 4 ปัจจัย ได้แก่ ความสนใจทางการเมือง การรับรู้ข่าวสารทางการเมือง ค่านิยมพื้นฐานทางการเมืองแบบประชาธิปไตย และสภาพแวดล้อมทางการเมือง ตามลำดับ ส่วนรูปแบบการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน พบว่า ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็นลักษณะลำดับขั้นฐานเจดีย์ ซึ่งเปรียบได้ว่าการเป็น ฐานเจดีย์นั้นทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ก่อนส่วนอื่น ๆ มากที่สุดและเข้าถึงง่ายที่สุด โดยเปรียบให้เห็นว่ากิจกรรมทางการเมืองที่ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุดและเข้าถึงง่ายที่สุดนั่นจะเป็นฐานของการสร้างประชาธิปไตย ซึ่งกิจกรรมที่ประชาชนเข้าถึงมากที่สุด ได้แก่ รูปแบบการมี ส่วนร่วมทางการเมืองโดยไปเลือกตั้งผู้แทนท้องถิ่น หรือ ส.ส. หรือ ส.ว. นั่นเอง ทั้งนี้ผลการวิจัยยัง พบประเด็นที่น่าสนใจคือประชาชนพร้อมที่จะเลือกไม่ เข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองใด ๆ เลย หาก กิจกรรมทางการเมืองนั้นไม่ได้มีการบังคับโดยกฎหมาย

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

07-10-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)