การสร้างภาพลักษณ์ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยาง อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร

ผู้แต่ง

  • ไพรัช โชติพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชานวัตกรรมการสื่อสารการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • วิทยาธร ท่อแก้ว
  • กานต์ บุญศิริ

คำสำคัญ:

การสื่อสาร, ภาพลักษณ์, นายกองค์การบริหารส่วนตำบล, จังหวัดสกลนคร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการสร้างภาพลักษณ์ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลห้วยยางอำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร เกี่ยวกับ 1) กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ 2) แนวทางการพัฒนาการสร้างภาพลักษณ์  การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุปผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการสร้างภาพลักษณ์ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล มี 4 ขั้นตอน คือ (1) การศึกษาภาพลักษณ์ในปัจจุบัน พบว่านายกองค์การบริหารส่วนตำบลมีการจัดแบ่งงานกันทำ มีความเด็ดขาด มีระเบียบวินัย และยึดมั่นในการทำเพื่อประโยชน์ส่วนรวม (2) การกำหนดภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล คือ เป็นผู้นำเพื่อสังคม ผู้นำที่ตัดสินใจจากฐานข้อมูล ผู้นำที่ขับเคลื่อนองค์กรด้วยนวัตกรรม และเป็นผู้นำที่บริหารทาเลนต์ (3) การดำเนินการสื่อสารภาพลักษณ์ นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้ส่งสารหลัก โดยมีประเด็นสารหลัก คือ คุณลักษณะส่วนบุคคล กิจกรรมที่ดำเนินการ และผลงานของนายกองค์การบริหารส่วนตำบล ส่วนช่องทางการสื่อสารภาพลักษณ์ประกอบด้วยสื่อดั้งเดิมและสื่อใหม่ ผู้รับสารประกอบด้วยบุคลากรในองค์กร นักปกครองท้องที่ ผู้นำชุมชน และประชาชนในตำบล (4) การประเมินภาพลักษณ์พบว่านายกองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองและการบริหาร มีความมุ่งมั่นในการทำงาน เป็นบุคคลที่มีความน่าเชื่อถือ แสดงออกถึงความเป็นผู้นำยุค 4.0 มีเอกลักษณ์ด้านความตรงต่อเวลา ทำงานเพื่อสังคม พัฒนาสิ่งแวดล้อมในตำบล เป็นผู้มีช่องทางที่สามารถติดต่อได้สะดวก มีกิจกรรมส่งเสริมความสามัคคีในตำบล 2) แนวทางการพัฒนาการสร้างภาพลักษณ์นายกองค์การบริหารส่วนตำบล มี 2 ด้าน คือ (1) การพัฒนาด้านการกำหนดภาพลักษณ์ที่พึงประสงค์ให้สอดคล้องตามกาลเวลาทั้งคุณลักษณะส่วนบุคคลที่เป็นคนติดดิน จริงจัง เอาใจใส่ ขยัน เข้าถึงปัญหา กล้าคิด กล้านำ กล้าเปลี่ยน ประสานงานเก่ง และมนุษยสัมพันธ์ดี และการสร้างผลงานในการบริหารการพัฒนาตำบลให้เจริญก้าวหน้า และพฤติกรรมทางสังคมในฐานะผู้นำที่ดี อ่อนน้อมถ่อมตน กล้าตัดสินใจ มีบารมี (2) การพัฒนาทักษะการสื่อสารของผู้นำ คือ จะต้องสื่อสารให้สั้น กระชับ มีวัตถุประสงค์ชัดเจน สื่อสารตรงประเด็น ใช้คำพูดหรือข้อความที่กินใจหรือการอุปมาที่ทำให้ผู้รับสารเกิดความคิดคล้อยตามได้ และต้องเป็นผู้รับฟังมากกว่าเป็นผู้พูด

Downloads

Download data is not yet available.

Author Biography

ไพรัช โชติพันธ์, คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชานวัตกรรมการสื่อสารการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

คณะนิเทศศาสตร์ สาขาวิชานวัตกรรมการสื่อสารการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

Downloads

เผยแพร่แล้ว

06-10-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)