การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุอย่างมีศักยภาพของประชาชนในเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พิชญา วงศ์ไวศยวรรณ คณะรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • อรพิน ปิยะสกุลเกียรติ
  • วิชัย โถสุวรรณจินดา
  • รังสรรค์ ประเสริฐศรี
  • ปกรณ์ ปรียากร
  • พระปลัดสุระ ญาณธโร (จันทึก)
  • กันตพัฒน์ พรศิริวัชรสิน

คำสำคัญ:

การเตรียมความพร้อม, วัยผู้สูงอายุ, ศักยภาพ

บทคัดย่อ

         การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษาการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุอย่างมีศักยภาพของประชาชนในเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลต่อการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุอย่างมีศักยภาพของประชาชนในเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร และ 3) เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุอย่างมีศักยภาพของประชาชนในเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้คือประชาชนก่อนวัยผู้สูงอายุในเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานครที่มีช่วงอายุตั้งแต่ 18-59 ปี จำนวน จำนวน 400 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test

          ผลการวิจัยพบว่าประชาชนส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 46-59 ปี การศึกษาสูงสุดระดับ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น/ตอนปลาย/เทียบเท่า รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท มีสถานภาพสมรส ประกอบอาชีพพนักงาน/ลูกจ้างเอกชน  และรูปแบบที่อยู่อาศัยเป็นบ้านเดี่ยว การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุที่มีศักยภาพ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก (  = 3.66, S.D. = .426) เมื่อพิจารณารายข้อโดยเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ด้านสิ่งแวดล้อมและที่อยู่อาศัย มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (  = 4.03, S.D. = .537) รองลงมาได้แก่ ด้านจิตใจ อารมณ์ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (  = 3.64, S.D. = .435) ด้านสังคม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (  = 3.58, S.D. = .691) ด้านเศรษฐกิจ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (  = 3.54, S.D. = .659) และน้อยที่สุดได้แก่ ด้านสุขภาพร่างกาย มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (  = 3.53, S.D. = .478) ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของประชาชนเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษาสูงสุด รายได้เฉลี่ยต่อเดือน สถานภาพสมรส อาชีพ และรูปแบบที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน มีการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุอย่างมีศักยภาพที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

         ปัญหาและอุปสรรคในการเตรียมความพร้อมก่อนเข้าสู่วัยผู้สูงอายุอย่างมีศักยภาพของประชาชนในเขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร จากแบบสอบถามจำนวน 400 คน มีข้อเสนอแนะด้านปัญหาและอุปสรรค จำนวน 178 คน ซึ่งแบ่งเป็นหลักๆ โดยเรียงลำดับจากการพบปัญหาและอุปสรรคที่ได้สรุปดังนี้ 1) ด้านสุขภาพร่างกาย พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ออกกำลังกายไม่สม่ำเสมอ บางคนมีน้ำหนักเกิน และมีโรคประจำตัวเช่น เบาหวาน ความดัน เป็นต้น 2) ด้านจิตใจและอารมณ์ พบว่า ส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับการขาดการฝึกปฏิบัติการทำสมาธิเพื่อให้จิตใจสงบ มีความวิตกกังวลต่อเหตุการณ์ที่ยังมาไม่ถึง ทำให้คิดมากและความเครียดได้ 3) ด้านสังคม พบว่า ประชาชนไม่ชอบเข้าร่วมเป็นสมาชิกชมรมหรือกลุ่มกีฬา และยังไม่ทราบถึงสิทธิประโยชน์และกฎหมายเกี่ยวกับผู้สูงอายุ 4) ด้านเศรษฐกิจ พบว่า คนส่วนใหญ่เป็นพนักงานเอกชน/ลูกจ้าง ไม่ได้รับราชการ ทำให้ขาดรายได้ที่แน่นอนในระยะยาวเมื่อเกษียณอายุ เช่น บำเหน็จ บำนาญ

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-07-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)