ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติดไปปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา

ผู้แต่ง

  • พรชนัน ทูลขุนทด

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การนำนโยบายไปปฏิบัติ, การป้องกันปัญหายาเสพติด

บทคัดย่อ

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติดไปปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา และศึกษาความสัมพันธ์ของปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติดไปปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการวิจัยโดยวิธีวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากกลุ่มประชากรที่เป็นนักศึกษาจำนวน 370 คน ด้วยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multiple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสอบถาม ค่าดัชนีความสอดคล้อง (Index of Item Objective Congruence : IOC) อยู่ระหว่าง 0.6–1.00 มีค่าความเชื่อมั่น (Reliability) เท่ากับ 0.89 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวน (Analysis of Variance) และวิธีการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ (Multiple Linear Regression Analysis)

          ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติดไปปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานจังหวัดนครราชสีมา ด้านกรอบมาตรการสำคัญ 4 มาตรการพบว่า ภาพรวมอยู่ในระดับมาก พิจารณารายด้านพบว่า มาตรการสร้างพื้นที่ปลอดภัยในสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือมาตรการอำนวยการ มาตรการสร้างการรับรู้และการสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดในสถานศึกษา และมาตรการเสริมรสร้างความเข้มแข็งในสถานศึกษามีค่าเฉลี่ยต่ำสุด การทดสอบสมมติฐานพบว่า นักศึกษาที่มีชั้นปีและคณะ มีผลต่อปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลของการนำนโยบายการป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดของยาเสพติดไปปฏิบัติในสถาบันอุดมศึกษา กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน จังหวัดนครราชสีมา ปัจจัยทั้งหมดร่วมกันพยากรณ์ R2 = 0.2670 คิดเป็นร้อยละ 26.70

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-05-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)