ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อบ้านของกลุ่มผู้บริโภคในอำเภอเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์
คำสำคัญ:
ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาด, การตัดสินใจซื้อ, ที่อยู่อาศัยบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมและการตัดสินใจเลือกซื้อบ้านของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ 2) ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดของผู้บริโภคในอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์และ 3) ปัจจัยการตัดสินใจเลือกซื้อบ้านของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณแบบสำรวจความคิดเห็น (Survey Research) กับกลุ่มตัวอย่างผู้บริโภคที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป ที่พักอาศัยในหมู่บ้านจัดสรร ทาวโฮม ในเขตอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งมีจำนวนประชากรทั้งหมด 147,034 คน คำนวณขนาดของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้สูตรของยามาเน จะได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างรวมทั้งสิ้น 400 คน โดยเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สำหรับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การวิเคราะห์ค่า t-test เพื่อเปรียบเทียบลักษณะส่วนบุคคล 2 กลุ่ม ค่า F-Test เพื่อเปรียบเทียบลักษณะส่วนบุคคลมากกว่า 2 กลุ่มและการวิเคราะห์แบบถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
ผลการวิจัย 1) พฤติกรรมและการตัดสินใจเลือกซื้อบ้านของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่เป็นบ้านประเภททาวน์เฮาส์ มีบ้านปัจจุบันที่อยู่อาศัยมีราคา 1-3 ล้านบาท มีระดับราคาของบ้านที่สนใจ 1-3 ล้านบาท มีสถานภาพการอยู่อาศัยในปัจจุบันอาศัยอยู่กับผู้อื่น มีระยะเวลาที่อาศัยอยู่ในบ้านในปัจจุบัน 6-10 ปี มีเหตุผลในการซื้อบ้านเพราะต้องการความสะดวกในการเดินทาง มีประเภทบ้านที่ต้องการเลือกซื้อเป็นแบบกำลังก่อสร้าง และมีแหล่งข้อมูลจากข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต 2) ปัจจัยส่วนผสมทางการตลาดที่มีผลต่อการเลือกซื้อบ้านของผู้บริโภคในอำเภอเมืองจังหวัดเพชรบูรณ์โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านการส่งเสริมการตลาดมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดรองลงมาคือ ด้านราคา และด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และ ด้านผลิตภัณฑ์ 3) ปัจจัยการตัดสินใจเลือกซื้อบ้านของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ได้แก่ ด้านพฤติกรรมหลังการซื้อมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการตัดสินใจซื้อ ด้านการรับรู้ปัญหา ด้านการประเมินทางเลือก และด้านการค้นหาข้อมูลข่าวสารมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด