ส่วนประสมการตลาดบริการของหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP ผ้าไหมไทย นวัตวิถี กรณีศึกษา : บ้านตะเคียน อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์

สุธิดา ราศรี
Thailand
ตระกูล จิตวัฒนากร
Thailand
ประภาศร์ เหิกขุนทด
Thailand
กนกกร เกิดเงิน
Thailand
คำสำคัญ: ส่วนประสมการตลาดการบริการ, หมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP, ผ้าไหมไทย
เผยแพร่แล้ว: ม.ค. 6, 2021

บทคัดย่อ

         งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อเปรียบเทียบส่วนประสมการตลาดบริการของหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP ผ้าไหมไทย นวัตวิถี กรณีศึกษา : บ้านตะเคียน อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ โดยจำแนกตามลักษณะประชากรศาสตร์ 2. เพื่อศึกษาส่วนประสมการตลาดบริการของหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP ผ้าไหมไทย นวัตวิถี กรณีศึกษา : บ้านตะเคียน อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบ้านตะเคียน  จำนวน 267 คน วิธีการเก็บข้อมูลจะใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ใช้อธิบายความถี่และร้อยละ ของข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) และการทดสอบสมมติฐานเพื่อศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างข้อมูลพื้นฐานของผู้ตอบแบบสอบถามกับส่วนประสมการตลาดบริการของหมู่บ้านตะเคียน อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์  ใช้ค่าสถิติ t-test และใช้สถิติ F-test ด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way Anova) ผลการวิจัย พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุระหว่าง 30 – 40 ปี อยู่ในระดับมัธยมตอนต้นหรือต่ำกว่า  สถานภาพสมรส  มีระยะเวลาในการทำงาน  5-10ปี  ความคิดเห็นส่วนประสมการตลาด 7Pของหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP ผ้าไหมไทย นวัตวิถี กรณีศึกษา : บ้านตะเคียน อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์  พบว่า ในภาพรวมประชาชนบ้านตะเคียนมีความคิดเห็นในด้านราคาภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด รองลงมาด้านผลิตภัณฑ์  ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการส่งเสริมการตลาด ด้านบุคคล ด้านลักษณะทางกายภาพ และต่ำสุดด้านกระบวนการ พบว่า เมื่อเปรียบเทียบ ส่วนประสมการตลาดบริการของหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP ผ้าไหมไทย นวัตวิถี กรณีศึกษา : บ้านตะเคียน อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์ โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ และระยะเวลาในการทำงาน พบว่า ระดับความคิดเห็นของประชากรบ้านตะเคียน ส่วนประสมการตลาด 7Pของหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP ผ้าไหมไทย ทั้ง 7ด้าน ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Downloads

Download data is not yet available.

Article Details

How to Cite

ราศรี ส., จิตวัฒนากร ต., เหิกขุนทด ป., & เกิดเงิน ก. (2021). ส่วนประสมการตลาดบริการของหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP ผ้าไหมไทย นวัตวิถี กรณีศึกษา : บ้านตะเคียน อำเภอสำโรงทาบ จังหวัดสุรินทร์. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(3), 219–232. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/248194

บท

บทความวิจัย (Research Articles)