การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาน้ำเสียคลองสี่วาพาสวัสดิ์ จังหวัดสมุทรสาคร
คำสำคัญ:
กระบวนการสื่อสาร, การสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม, การแก้ไขปัญหาคลองสี่วาพาสวัสดิ์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) บริบทการสื่อสาร 2) กระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม 3) แนวทางการพัฒนาการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาน้ำเสียคลองสี่วาพาสวัสดิ์ จังหวัดสมุทรสาคร การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบการสัมภาษณ์เชิงลึก เลือกผู้ให้ข้อมูลหลักแบบเจาะจง จำนวน 14 คน เลือกจากผู้มีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับการสื่อสารเพื่อการมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาน้ำเสียในพื้นที่ศึกษา ได้แก่ ข้าราชการพลเรือน 2 คน ทหาร 1 คน นักวิชาการ 1 คน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2 คน ผู้นำท้องที่ 1 คน หัวหน้าส่วนราชการ 1 คน ภาคเอกชน 2 คน ภาคประชาสังคม 1 คน ภาคประชาชน 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า
1) บริบทการสื่อสาร ได้แก่ การประชุมหมู่บ้าน สภากาแฟ โทรศัพท์ เสียงตามสาย สื่อมวลชน การเคาะประตูบ้าน ปากต่อปาก และสื่อสังคมออนไลน์ คือ ไลน์รักษ์คลองสี่วาพาสวัสดิ์
2) กระบวนการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม ดังนี้ ผู้ส่งสาร คือ ประชาชนที่สะท้อนปัญหา และภาครัฐที่ขับเคลื่อนแนวทางการแก้ไข ผู้รับสาร คือ ภาครัฐที่รับทราบปัญหาร่วมหารือแนวทางแก้ไข และภาคประชาชนที่เข้าร่วมโครงการกิจกรรม ผ่านช่องทางประชาสัมพันธ์ ได้แก่ โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ หอกระจายข่าว สื่อสังคมออนไลน์ ผลทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจ สามารถปรับเปลี่ยนทัศนคติเชิงบวก และมีการเข้าร่วมกิจกรรมด้วยจิตอาสา
3) แนวทางการพัฒนาการสื่อสารเพื่อสร้างการมีส่วนร่วม แบ่งกลุ่มเป้าหมายเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ภาครัฐ โดยจัดสัมมนายกระดับความรู้ความสามารถด้านการจัดการปัญหา และภาคประชาชน จัดอบรมให้ความรู้สร้างเข้าใจเกี่ยวกับการแก้ปัญหา ให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นคณะทำงานแก้ปัญหาทุกขั้นตอน การเข้าร่วมกิจกรรมจิตอาสา ทำให้เห็นประโยชน์การเข้าร่วมกิจกรรมและด้านการจัดการ รวมทั้งการตั้งคณะทำงานโดยผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นประธานการขับเคลื่อนแนวทาง ผ่านกิจกรรมและการรณรงค์อย่างต่อเนื่อง