วิถีชุมชนกับการบริหารจัดการน้ำ สู่รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ กรณีศึกษา ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ
คำสำคัญ:
วิถีชุมชน, การบริหารจัดการน้ำ, รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวิถีชุมชนกับการบริหารจัดการน้ำ สู่รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยการบริหารจัดการน้ำที่สู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ และ 3) เพื่อสร้าง รูปแบบวิถีชุมชนกับการบริหารจัดการน้ำ สู่รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ โดยทำการศึกษา ตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในขั้นตนการรวบรวมข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลนาเสียว ทั้งหมด 8 หมู่บ้าน จำนวน 329 ครัวเรือน เชิงคุณภาพ ได้แก่ ตัวแทนภาคประชาสังคม ประชาชน ผู้นำชุมชน และนักวิชาการ จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า และแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า
1) วิถีชุมชนกับการบริหารจัดการน้ำของตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิปัจจัยด้านบริบทชุมชน และปัจจัยด้านความเข้มแข็งของชุมชนชาวตำบลนาเสียว สะท้อนออกมว่าปัจจัยทั้ง 2 ด้านมีความสำคัญในระดับที่มาก ที่ชุมชนมีความต้องการให้มีการบริหารจัดการน้ำเพื่อการประกอบอาชีพการเกษตร รองลงมาคือชุมชนต้องการบริหารจัดการแหล่งน้ำทางธรรมชาติที่ให้มีอยู่ให้มีความพร้อมและเหมาะสมแก่การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
2) ปัจจัยการบริหารจัดการน้ำที่สู่การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ของตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิคือต้องมีการเชื่อมโยงการบริหารจัดการน้ำกับวัฒนธรรมชุมชนเพื่อสร้างอาชีพใหม่และเพิ่มรายได้ให้กับชุมชน โดยผู้นำชุมชนต้องให้ความสำคัญกับปัญหาและความต้องการ พร้อมทั้งเปิดใจในการรับข้อมูลจากคนในชุมชน ผู้นำ มีวิสัยทัศน์ สนใจโลกภายนอก มีจิตพัฒนา และเห็นประโยชน์ของคนในชุมชนเป็นที่ตั้งสามารถ สามารถนำนโยบายการเปลี่ยนแปลงภายนอกมากำหนดกลยุทธ์ในการบริหารจัดการน้ำในชุมชน เพื่อเชื่อมโยงกับบริบทชุมชนและทรัพยากรพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในชุมชนเดิม เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวตามวิถีชุมชน
3) รูปแบบวิถีชุมชนกับการบริหารจัดการน้ำ สู่รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ของตำบลนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ คือการบริหารจัดการน้ำด้วยวิธีการขับเคลื่อนอย่างเป็นระบบเริ่มตั้งแต่การมีส่วนร่วมของชุมชนที่เข้มแข็ง อนุรักษ์ฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำจัดการน้ำเพื่อสร้างความมั่นคงของน้ำในภาคการเกษตรการบริหารจัดการคุณภาพน้ำให้มีคุณภาพได้มาตรฐาน เพื่อการอุปโภคบริโภคเชื่อมโยงกับวิถีชุมชนกับการบริหารจัดการน้ำ สู่รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ททที่ต้อง สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่ยั่งยืน โดยการบูรณาการกับทุนทางสังคมระดมตามกระบวนการการ มีส่วนร่วมของประชาชนกับภาครัฐกำหนด ใช้กฎหมายในการควบคุม ดูแล การท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์จัดทำแนวทางปฏิบัติประชาสัมพันธ์และสร้างเครือข่าย