กฎหมายเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกับการรับรู้ของเกษตรกรชาวนาจังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ธนภูมิ ชาติดี คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
  • ยุทธจักร งามขจิต
  • ประสิทธิ์ โสมนัส
  • วัลภา รัศมีโชติ

คำสำคัญ:

กฎหมายการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม,, การรับรู้,, เกษตรกรชาวนาจังหวัดราชบุรี

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษามาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการเช่าที่เดินเพื่อเกษตรกรรมของภาครัฐ 2) ศึกษาระดับการรับรู้เกี่ยวกับกฎหมายการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมของเกษตรกรชาวนาจังหวัดราชบุรี 3) ศึกษาแนวทางส่งเสริมให้เกษตรกรจังหวัดราชบุรีเกิดการปฏิบัติตามกฎหมายการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยใช้การศึกษาวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลจากเกษตรกรทำนาในจังหวัดราชบุรี จำนวน 391 ราย ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 45 ราย ผลการวิจัย พบว่า
1) กฎหมายการเช่าที่ดินฉบับแรกเรียกว่า กฎหมายควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2493 เจตนารมณ์เพื่อมุ่งให้ความคุ้มครองกับผู้เช่าที่ดินซึ่งเป็นเกษตรกรไร้ที่ดินทำกิน ฉบับที่สองเรียกว่า พระราชบัญญัติควบคุมการเช่านา พ.ศ. 2517 สาระสำคัญคือการจัดตั้งองค์กรควบคุมการเช่านาในระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล ทำหน้าที่กำหนดอัตราค่าเช่านา และพิจารณาไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ประกาศใช้พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 เป็นฉบับที่สาม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการเช่านาของเกษตรกรให้สมบูรณ์และมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ประกาศใช้พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559 เป็นฉบับที่สี่ มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน
2) ระดับการรับรู้กฎหมายการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมของเกษตรกรชาวนาจังหวัดราชบุรี โดยภาพรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับน้อย ( =.33)
3) ศึกษาแนวทางส่งเสริมให้เกษตรกรจังหวัดราชบุรีเกิดการปฏิบัติตามกฎหมายการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ได้แก่ ภาครัฐควรส่งเสริม เผยแพร่ องค์ความรู้ด้านกฎหมายการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้แก่เกษตรกรชาวนา และคณะกรรมการทุกระดับ สร้างมาตรการการตรวจสอบการทำสัญญาเช่าแบบนิติกรรมอำพราง และสร้างความเข้มแข็งให้กับคณะกรรมการในการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดผล เป็นธรรม

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

21-06-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)