กำเนิดและพัฒนาการของตลาดนัดในจังหวัดสุรินทร์
คำสำคัญ:
กำเนิดและพัฒนาการ, เศรษฐกิจชุมชน, ตลาดนัดบทคัดย่อ
บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกำเนิดและพัฒนาการของตลาดนัดในจังหวัดสุรินทร์ และชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของตลาดนัดทั้งในด้านเศรษฐกิจชุมชนและภูมิปัญญาท้องถิ่น จากการศึกษาพบว่าการค้าในจังหวัดสุรินทร์เริ่มต้นมาจากพ่อค้าชาวจีนโดยการเร่ขายสินค้าไปต่างจังหวัดด้วยกองคาราวานม้าและซื้อสินค้ากลับมาขาย ต่อมาในปี 2469 เมื่อเส้นทางรถไฟตัดผ่านจังหวัดสุรินทร์กองคาราวานจึงสิ้นสุดลง เศรษฐกิจของจังหวัดสุรินทร์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีการเกิดขึ้นของตลาดและตลาดนัด เช่น ตลาดนัดโค-กระบือ และตลาดนัดทุก 10 วัน ในปี 2540 เกิดภาวะเศรษฐกิจซบเซา นักธุรกิจส่วนหนึ่งที่ประสบปัญหาขาดทุนได้นำสินค้าไปขายในคลองถมและเร่ขายตามต่างจังหวัดรวมทั้งจังหวัดสุรินทร์ และเกิดเป็นตลาดนัดคลองถมในพื้นที่ต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยตลาดนัดคลองถมในจังหวัดสุรินทร์เริ่มอย่างเป็นทางการในปี 2547 และได้มีพัฒนาการเติบโตขยายตลาดนัดคลองถมไปทั่วทุกอำเภอ และในช่วงปี 2546 ได้เกิดตลาดนัดสีเขียวขึ้นเป็นแห่งแรกในจังหวัดสุรินทร์ ซึ่งเป็นจังหวัดนำร่องด้านเกษตรอินทรีย์ โดยกลุ่มองค์กรเอกชนและภาครัฐร่วมกันเปิดพื้นที่ให้เกษตรกรมีช่องทางในการสร้างรายได้และเพิ่มทางเลือกให้กับผู้บริโภคที่นิยมอาหารเพื่อสุขภาพ และแนวคิดตลาดสีเขียวได้ขยายไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ของจังหวัดสุรินทร์ เพื่อให้เกษตรกรในพื้นที่ได้มีโอกาสในการสร้างรายได้ นอกจากนี้ในปี 2558 จังหวัดสุรินทร์ยังได้เปิดตลาดนัดผ้าไหม เพื่อให้กลุ่มช่างทอได้นำผลผลิตมาจำหน่าย ต่อมาปลายปี 2560 กระทรวงมหาดไทยได้จัดโครงการตลาดประชารัฐ ซึ่งเป็นการบูรณาการระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อจัดสรรพื้นที่ในการจำหน่ายสินค้าขายให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ การที่มีตลาดนัดเกิดขึ้นมากมายและหลากหลายในจังหวัดสุรินทร์ สะท้อนให้เห็นมิติเชิงเศรษฐกิจและวัฒนธรรมชุมชนได้เป็นอย่างดี