การจัดการการตลาดดิจิทัลและการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์น้ำตาลอ้อยศูนย์เรียนรู้อยู่เย็นเป็นสุข บ้านวังตะเคียน ตำบลเบิกไพร อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี

ผู้แต่ง

  • ณฐาพัชร์ วรพงศ์พัชร์ 0955426414
  • รุ่งทิวา ชูทอง
  • ธีระศักดิ์ เปี่ยมสุภัคพงศ์
  • อนันต์ ธรรมชาลัย
  • อนุรักษ์ นวพรไพศาล

คำสำคัญ:

การตลาดดิจิทัล, น้ำตาลที่ปราศจากสารเคมี, สื่อสังคมออนไลน์

บทคัดย่อ

            งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ ช่องทางการจัดจำหน่าย ปรับปรุงและพัฒนาสื่อการตลาดดิจิทัลเพื่อเป็นช่องทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์อ้อย ศูนย์เรียนรู้อยู่เย็นเป็นสุข การวิจัยครั้งนี้เป็นการแบบผสมผสาน โดยใช้การวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นผู้ประกอบการในชุมชนจำนวน 6  ราย และผู้ใช้บริการซื้อผลิตภัณฑ์ชุมชนจำนวน 26 ราย โดยการสุ่มแบบง่าย สถิติที่ใช้ในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ ร้อยละ ความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ในการวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น

          ผลการวิจัยพบว่า ระดับความพึงพอใจของตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับความพึงพอใจก่อนและหลังการพัฒนาผลิตภัณฑ์ สื่อการตลาดดิจิทัล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้งด้านผลิตภัณฑ์ ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และการส่งเสริมการตลาด ในด้านพฤติกรรมการใช้สื่อดิจิทัลพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ใช้ Facebook ร้อยละ 65.4 รองลงมาเป็น Line@ ในด้านความพึงพอใจต่อการสื่อสารการตลาดแบบบูรณาการผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความพึงพอใจเกี่ยวกับการให้ข่าวและประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อดิจิทัล  รองลงมาเป็นการตลาดทางตรงผ่านสื่อดิจิทัล และการขายโดยพนักงานผ่านสื่อดิจิทัล (X ̅ = 4.62, X ̅ = 4.57 และ X ̅ = 4.42 ตามลำดับ) ผลของการใช้สื่อดิจิทัลด้าน การนำเสนอเนื้อหา คอนเทนต์บน Facebook การพาดหัว Facebook ให้ผู้อ่านสนใจ และด้านเนื้อหา Instagram Uyenpensook_VTK พบว่า ส่วนใหญ่ผู้ตอบแบบสอบถามกด Like และ Engage

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

02-12-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)