แนวทางการพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์ผ้าไหมพื้นเมืองกลุ่มชาติพันธุ์เขมรเพื่อเพิ่มมูลค่าจากเศรษฐกิจฐานราก
คำสำคัญ:
ห่วงโซ่คุณค่า, ผลิตภัณฑ์ผ้าไหม, กลุ่มชาติพันธุ์เขมรบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์ผ้าไหมพื้นเมืองกลุ่มชาติพันธุ์เขมรและเพื่อหาแนวทางพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อเพิ่มมูลค่าจากเศรษฐกิจฐานรากของกลุ่มทอผ้าไหมบ้านสวาย เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก แบบมีโครงสร้าง ผู้ให้ข้อมูลเป็นช่างทอผ้า สมาชิกและผู้ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำของห่วงโซ่การทอผ้า จำนวน 25 รายเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลจากเนื้อหาสัมภาษณ์ ด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ตามลำดับของกิจกรรมในห่วงโซ่คุณค่า การวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถาม สอบถามช่างทอผ้าทุกคนในกลุ่มทอผ้า จำนวน 60 ราย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า
ห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์ผ้าไหมพื้นเมืองกลุ่มชาติพันธุ์เขมร พบว่า ในกิจกรรมต้นน้ำกลุ่มชาติพันธุ์เขมร ส่วนใหญ่มีการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมน้อยรายและมีการจ้างงานในกิจกรรมที่ทำเองไม่ได้ ความนิยมในการย้อมสีไหมจากสีธรรมชาติและเคมี มีสัดส่วนไม่ต่างกัน กิจกรรมกลางน้ำ มีการมัดหมี่ ออกแบบลาย และทอผ้าจนสำเร็จเป็นผืนได้ด้วยตนเองเป็นส่วนมาก และมีการจ้างในบางขั้นตอน และกิจกรรมปลายน้ำมีการจำหน่ายผ้าไหมพื้นเมืองที่บ้านตนเอง กำหนดราคาขายเอง มีการขายออนไลน์ แนวทางพัฒนาห่วงโซ่คุณค่าผลิตภัณฑ์ผ้าไหมเพื่อเพิ่มมูลค่าจากเศรษฐกิจฐานรากของกลุ่มทอผ้าไหมบ้านสวาย พบว่า ระดับปฏิบัติในกิจกรรมหลักที่ยังเป็นจุดอ่อนของกลุ่มทอผ้าไหมบ้านสวาย ได้แก่ ด้านปัจจัยป้อนเข้าการผลิต ขาดโรงเรือนสำหรับการเลี้ยงไหมที่ดี การปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมีจำนวนน้อยราย ด้านการปฏิบัติการหรือกระบวนการผลิต ความไม่แน่นอนเรื่องระยะเวลาของการทอผ้าแต่ละผืน ด้านการกระจายสินค้า ขาดบรรจุภัณฑ์ที่แสดงถึงเอกลักษณ์ของกลุ่ม ด้านการตลาดและการขาย ไม่มีฝ่ายขายโดยเฉพาะ และการบริการ ส่วนระดับปฏิบัติในกิจกรรมสนับสนุน ได้แก่ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน มีการสอนงาน การประชุมก่อนการทำงานทุกครั้ง ยังไม่ได้รับความร่วมมือครบถ้วน ด้านการบริหารทรัพยากรมนุษย์ ทักษะในการคำนวณต้นทุนของผลิตภัณฑ์เพื่อตั้งราคาขาย, ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี ยังไม่สามารถใช้ระบบบัญชีธนาคารผ่านมือถือได้ทั่วถึงทุกคน และด้านการจัดการทรัพยากร ยังไม่มีการส่งเสริมให้มีการปลูกพืชธรรมชาติในท้องถิ่นที่ปลูกและให้สีย้อมตามธรรมชาติ