แนวนโยบายการบริหารจัดการภัยแล้งตามแนวทางการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
คำสำคัญ:
แนวนโยบาย, การบริหารจัดการ, ภัยแล้ง, การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยบทคัดย่อ
ปัญหาภัยแล้งเป็นปัญหาที่หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งปัญหาภัยแล้งส่งผลทางตรงและทางอ้อมกับปัญหาอื่น ๆ ที่ตามมา สำหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบหลักสำคัญเกี่ยวกับการบริหารจัดการภัยแล้ง คือ “กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย” เพื่อให้เป็นแนวทางการบริหารนโยบายนำไปสู่ประสิทธิภาพและประสิทธิผล บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวนโยบายการบริหารจัดการภัยแล้งตามแนวทางการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ผลการวิเคราะห์พบว่า (1) กระบวนการขับเคลื่อนการบริหารจัดการภัยแล้ง ได้แก่ (ก) จัดทำแผนการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ (ข) จัดให้มีการศึกษาวิจัยเพื่อหามาตรการในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ค) จัดทำฐานข้อมูลพื้นที่เสี่ยงภัย พื้นที่ปลอดภัย และสถิติสาธารณภัย (ง) ปฏิบัติการ ประสานการปฏิบัติ ให้การสนับสนุน และช่วยเหลือหน่วยงานของรัฐ (จ) การสงเคราะห์แก่ผู้ประสบภัย หรือผู้ได้รับความเสียหาย (ฉ) แนะนำ ให้คำปรึกษา และอบรมเกี่ยวกับการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และ (ช) ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินการ (2) หลักการบริหารจัดการนโยบาย ประกอบด้วย (ก) การจัดการนโยบายเชิงบูรณาการ (ข) พัฒนาระบบการสื่อสาร การเตือนภัย (ค) สร้างการมีส่วนร่วมจากภาคประชาชน (ง) พัฒนาระบบธรรมาภิบาลสำหรับการจัดการ (จ) วางกรอบนโยบายมุ่งผลสัมฤทธิ์สนองตอบความต้องการที่จำเป็นให้ตรงจุด และ (ช) กรอบนโยบายการป้องกันภัยแบบองค์รวม