การสื่อสารออนไลน์ที่มีผลต่อความรู้ทางการเมืองและการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • ชัยยศ จินารัตน์
  • ธรรมนิตย์ วราภรณ์ คณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอิสเทิร์น
  • วีระศักดิ์ จินารัตน์ คณะบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอิสเทิร์น

คำสำคัญ:

การใช้สื่อออนไลน์, ความรู้ทางการเมือง, การมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบ Digital

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับการใช้สื่อออนไลน์ ความรู้ทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบ Digital พร้อมทั้งการวิเคราะห์ปัจจัยการใช้สื่อออนไลน์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาความรู้และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน โดยเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้สื่อออนไลน์และการมีส่วนร่วมทางการเมืองจำนวน 20 คนแล้วนำมาสร้างเป็นแบบสอบถามสำหรับเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นประชาชนที่ได้รับสิทธิในการเลือกตั้งเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2562 จำนวน 370 คนมาวิเคราะห์ผลด้วยสถิติเชิงพรรณนา วิเคราะห์ปัจจัย และวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณสำหรับนำมาตอบคำถามตามวัตถุประสงค์วิจัย ผลวิจัยพบว่า ระดับการใช้สื่อออนไลน์ ความรู้ทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบ Digital ของประชาชนในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2 อยู่ในระดับปานกลาง และมีความสัมพันธ์ไปในทิศทางเดียวกันระดับปานกลาง ถึงมากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิตที่ระดับ .01 ส่วนข้อค้นพบเกี่ยวกับปัจจัยการพัฒนานั้นประกอบด้วย รายได้ต่อหัวต่อเดือน พรรคการเมืองที่เลือกในปี พ.ศ. 2562 ความถี่ในการใช้สื่อออนไลน์ และการแก้ปัญหาร่วมกันของสมาชิกในครอบครัว โดยมีอิทธิพลร่วมกับความรู้ทางการเมืองเกี่ยวกับ ความคล่องตัวทางการเมือง แรงจูงใจทางการเมืThis research is aimed at the purpose of studying the level of online media usage, political knowledge and digital political participation as well as an analysis of online media factors that affect the development of the knowledge and political participation of the public. The information, collected from interviews of twenty experts who specialized in using online media and who participated in politics, had been created as a questionnaire to collect and store for information from the public sample group of three hundreds and seventy (370) people who had for the first time the election right in 2019. The descriptive statistics analysis, factor analysis and multiple regression analysis were used to answer questions based on research objectives. The research showed that the level of online media usage, political knowledge and digital political participation of people in the Lower North Eastern Region Two (2) were moderate and that there was a moderate to high level statistically significant relationship of .01. The findings regarding the development factors included per capita per month income, selected political parties in the year 2019, frequency of online media usage, joint problem solving by family members influenced by political knowledge on political agility, political motivation, political incentives and political news forecasted the correlation coefficient of 61.5 percent.อง และข่าวสารทางการเมือง ทั้งนี้โดยมีสัมประสิทธิ์ในการพยากรณ์ที่ร้อยละ 61.5

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-04-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)