การอนุรักษ์ป่าสะอ้าด (ไปรยซะอ้าด) แบบมีส่วนร่วมตามหลักภูมิวัฒนธรรมชุมชนชายแดนไทยและกัมพูชา

ผู้แต่ง

  • Ittiwat Srisombat
  • Bun Saluth

คำสำคัญ:

การอนุรักษ์ป่า, แบบมีส่วนร่วม, หลักภูมิวัฒนธรรม, ชุมชนชายแดน

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาวิธีการอนุรักษ์ป่าแบบมีส่วนร่วมตามหลักภูมิวัฒนธรรมชุมชนและเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งเสริมและอุปสรรคในการอนุรักษ์ป่าสะอ้าด (ไปรยสะอ้าด)แบบมีส่วนร่วมตามหลักภูมิวัฒนธรรมชุมชนชายแดนไทยและกัมพูชา โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญประกอบด้วย พระสงฆ์ ผู้นำชุมชน ภูมิปัญญาท้องถิ่นและประชาชน จำนวน 30 คน เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสัมภาษณ์และการสังเกต วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลด้วยการตีความและสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า

  1. 1. ภูมิวัฒนธรรมตอการอนุรักษ์ป่าแบบมีส่วนร่วมชุมชนชายแดนไทยและกัมพูชา โดยการพระสงฆ์ชาวบ้าน เยาวชน หน่วยงานราชการและองค์กรเอกชน ร่วมกันในการอนุรักษ์ป่าโดยยึดประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตการใช้ประโยชน์ร่วมกันอย่างมีส่วนร่วมตามหลักภูมิวัฒนธรรมประกอบไปด้วยลักษณะภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐาน เหตุการณ์การต่อสู้ ความเชื่อและศาสนา จิตสาธารณะและวิกฤตทางสังคมกับป่าและการสร้างเครือข่ายร่วมกับคนภายนอกชุมชนทั้งภาครัฐและองค์กรพัฒนาเอกชน
  2. วิธีการการอนุรักษ์ป่า พระสงฆ์เป็นผู้นำการเรียนรู้และอนุรักษ์ป่า ใช้วิธีบวชป่า กำหนดเขตอภัยทาน ขุดคูคันดินรอบเขตป่า ขุดลอกห้วยและหนองน้ำในป่า ทอดผ้าป่าต้นไม้ เข้าค่ายเยาวชนรักษ์ป่ากิจกรรมทำบุญทุกวันพระกิจกรรมการติดป้ายให้สติหรือต้นไม้พูดได้ จัดเวรยามในการป้องกันรักษาป่า ทำลายเครื่องมือดักจับสัตว์ทั้งบนบกและในหนองน้ำ ประสานขอรับความช่วยเหลือเครื่องมือและเทคโนโลยีที่ทันสมัยจากองค์กรเอกชนและประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสารมวลชนในประเทศและต่างประเทศ
  3. ปัจจัยที่ส่งเสริมการอนุรักษ์ป่า พระสงฆ์เป็นแกนนำชาวบ้าน มีกรรมการหมู่บ้านและหน่วยงานราชการสนับสนุนเป็นปัจจัยส่งเสริม ส่วนที่เป็นอุปสรรคคือขาดผู้นำชาวบ้านที่กล้าอาสามาเป็นแกนนำในการอนุรักษ์ป่าและขาดงบประมาณในการดำเนินงาน แนวทางในที่ดีควรส่งเสริมให้คนทั้งประเทศเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าอย่างชัดเจน เพื่อให้ชุมชนได้ตระหนักและร่วมมือกันรักษาป่าให้เป็นห้องเรียนป่าธรรมชาติ

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-12-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)