การจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

ผู้แต่ง

  • Taptim Pengmol

คำสำคัญ:

การจัดการองค์ความรู้, วัฒนธรรม, การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

บทคัดย่อ

         บทความวิชาการ เรื่อง การจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน เป็นพื้นฐานองค์ความรู้ ในการสร้างและการถ่ายโอนความรู้ทางวัฒนธรรม อันเป็นสิ่งที่แสดงถึงความเจริญงอกงามของกลุ่มชน ให้เกิดการธำรงไว้อย่างยั่งยืน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและรวบรวมความรู้ด้านการจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม และเสนอแนวคิดการจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อนำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน  โดยมีเนื้อหาครอบคลุมเรื่องวัฒนธรรม การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน การจัดการองค์ความรู้ ผลการศึกษา ได้ความรู้ในการจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม และการจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อนำไปสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยใช้โมเดลเซกิ (SECI Model) (Nonaka และ Takeuchi, 1995) และทฤษฎี อลัน ฟรอสท์  (Alan Frost, 2010) ได้กระบวนการจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน           7 ขั้นตอน  คือ 1) การระบุความต้องการ 2) การสกัดความรู้ออกจากตัวคน 3) การแสวงหาและสร้างความรู้  4) การควบรวมความรู้ 5) การจัดเก็บความรู้ 6) การดึงความรู้มาใช้และแบ่งปัน และ 7) การผนึกฝังความรู้ และวนกลับมาเริ่มต้นทำซ้ำที่กระบวนการแรก เพื่อให้การจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรมเกิดความยั่งยืนตลอดไป

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2019

How to Cite

Pengmol, T. (2019). การจัดการองค์ความรู้ทางวัฒนธรรม เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 2(3), 93–106. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/199309

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ (Academic Articles)