กระบวนการผลิตและเส้นทางการค้าเกลือสินเธาว์บ่อกฐิน จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
กระบวนการผลิต, เส้นทางการค้าขาย, เกลือสินเธาว์, บ่อกฐินบทคัดย่อ
พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแอ่งเกลือรองรับอยู่ใต้ดินเป็นโดมเกลือขนาดใหญ่ ทำให้มีการผลิตเกลือในระดับชุมชนโบราณมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตและเส้นทางการค้าขายเกลือสินเธาว์ ในอดีตและปัจจุบัน บริเวณบ่อกฐิน จังหวัดขอนแก่น ผู้รู้ประวัติความเป็นมาการผลิตเกลือ จำนวน 9 คน และผู้ผลิตเกลือสินเธาว์ จำนวน 8 ครัวเรือน โดยใช้วิธีแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์เชิงลึกแบบไม่มีโครงสร้าง วิธีการสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่ม ทำการรวบรวมข้อมูลตำแหน่ง เส้นทางจากการค้าเกลือจากเครื่องกำหนดตำแหน่งทั่วโลก ผลการวิจัยพบว่า ผลการเปลี่ยนแปลงกระบวนการเปลี่ยนแปลงการผลิต คือ การทำพิธีบอกกล่าวเจ้าที่โรงเรือนฮางเกลือ ภาชนะต้มเกลือและตะกร้าใส่เกลือ กระบวนการผลิตที่ไม่เปลี่ยนแปลง คือ ฤดูกาลเชื้อเพลิง และทัดทา และผลเส้นทางการค้าขายเกลือสินเธาว์ในอดีตมี 7 เส้นทางอยู่ใกล้กับแหล่งผลิต มีระยะทางประมาณ 97 กิโลเมตร ยานพาหนะเป็นเกวียน ราคาเกลือ 1 ปิ๊ป 12 กิโลกรัมเท่ากับ 3 – 5 บาท ปัจจุบันมีเส้นทางเพิ่มขึ้นเป็น 10 เส้นทาง มีระยะทางประมาณ 237 กิโลเมตรยานพาหนะเป็นรถบรรทุก ราคาซื้อขายเกลือ 1 ปิ๊บ ราคา 150 – 200 บาท และแลกข้าวสาร 1 ปิ๊บ งานวิจัยเป็นการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน เพื่อให้ชุมชนสามารถพึ่งตนเองจากทรัพยากรท้องถิ่น และการผลิตเกลือสินเธาว์สามารถดำรงอยู่คู่กับชุมชนได้อย่างยั่งยืน