ตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในจังหวัดบุรีรัมย์

ผู้แต่ง

  • Wisanu Panyayong

คำสำคัญ:

ตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุ, การบริหารจัดการ, กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างและพัฒนากรอบแนวคิดตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 2) ศึกษาตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต 3) เพื่อตรวจสอบยืนยันตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือคณะกรรมการบริหารกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต จำนวน 450 คน เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่  ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความเบ้ ค่าความโด่ง มัธยฐาน พิสัยระหว่างควอไทล์ การยืนยันโดยการอ้างอิงผู้เชี่ยวชาญ และวิเคราะห์ข้อมูลโมเดลสมการโครงสร้าง (SEM)

          1) กรอบแนวคิดตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในจังหวัดบุรีรัมย์ ประกอบไปด้วยตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงมี 4 ตัวแปรคือ การมีส่วนร่วม การเรียนรู้ของกลุ่ม คุณลักษณะผู้นำ และความโปร่งใสในการดำเนินงาน

2) ตัวแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในจังหวัดบุรีรัมย มีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ไค-สแควร์ (X2) มีค่า 157.04 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05  p-value = 0.954 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (X2/df) =  1.42  ค่าดัชนีวัดความ ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI)=  0.69 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) = 0.86 และค่ารากที่สองของค่าเฉลี่ยความคลาดเคลื่อนกำลังสองของการประมาณ (RMSEA) =  0.140 ผ่านเกณฑ์ทุกข้อแสดงว่าโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ อิทธิพลรวมสูงสุดของตัวแปรเชิงสาเหตุคือ คุณลักษณะของผู้นำ

3) ผลการยืนยัน ผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิทุกคนแสดงความคิดเห็นสอดคล้องในทิศทางเดียวกับแบบปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลประสิทธิภาพการบริหารจัดการกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตในจังหวัดบุรีรัมย์

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)