ประสิทธิผลการจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยความร่วมมือระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

ผู้แต่ง

  • Jintakarn Suthamdee

คำสำคัญ:

ประสิทธิผล, การจัดการแหล่งท่องเที่ยว, ชุมชน, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเรื่อง การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์อย่างยั่งยืนโดยความร่วมมือระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ                         มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับประสิทธิผลการจัดการแหล่งท่องเที่ยวโดยความร่วมมือระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ และสร้างรูปแบบการพัฒนาระบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยความร่วมมือระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ วิธีวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง ผลการวิจัย พบว่า 

          1) ระดับประสิทธิผลการพัฒนาระบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยความร่วมมือระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ พบว่า ระดับประสิทธิผลการโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  ( = 3.25) เมื่อพิจารณาเป็นรายมิติพบว่า อยู่ในระดับมาก 2 ด้านคือ ด้านการอนุรักษ์โดยใช้ทรัพยากรอย่างพอดี ( = 3.59) และด้านลดการบริโภคและใช้ทรัพยากรที่เกินความจำเป็นกับการลดของเสีย( = 3.45) และอยู่ในระดับปานกลาง 8 ด้าน โดยเรียงลำดับความสำคัญค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ ดังนี้  ด้านการรักษาและส่งเสริมความหลากหลายของธรรมชาติ สังคม และวัฒนธรรม (  = 3.40) ด้านประสานการพัฒนาการท่องเที่ยว  (  = 3.38) ด้านนำการท่องเที่ยวขยายฐานเศรษฐกิจในท้องถิ่น (  = 3.25)  ด้านการมีส่วนร่วมโดยการสร้างเครือข่ายพัฒนาการท่องเที่ยวกับท้องถิ่น (  = 3.22) ด้านการประชุมกับผู้ที่เกี่ยวข้องที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน  ( = 3.21) ด้านการพัฒนาบุคลากร ( = 3.41) ด้านการจัดเตรียมข้อมูล คู่มือในการบริการข่าวสารการท่องเที่ยว ( = 2.97) และด้านการประเมินผล ตรวจสอบ ( = 2.95) ตามลำดับ  2) รูปแบบการพัฒนาระบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยความร่วมมือระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัย ถูกขับเคลื่อนด้วยแนวทางเชิงนโยบาย (Policy) และขับเคลื่อนด้วยกระบวนการกลยุทธ์ที่เรียกว่า แนวทางเชิงปฏิบัติการ (Implementation)  เป็นสิ่งสำคัญเริ่มต้นโดยป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบ (Input) โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิที่เป็นหน่วยจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาจะต้องให้การส่งเสริมสนับสนุนด้านองค์ความรู้ผ่านกระบวนการวิจัยและกระบวนการบริการวิชาการแก่สังคมโดยเน้นการสร้างเครือข่ายและให้ประชาชนในชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมการพัฒนาระบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน อุทยานแห่งชาติตาดโตน เป็นหน่วยบริหารจัดการการท่องเที่ยวในพื้นที่จะต้องให้ความสำคัญด้านการส่งเสริมสนับสนุนบุคลากร วัสดุอุปกรณ์บุคลากรด้านการท่องเที่ยวเพื่อดำเนินงานร่วมกับชุมชนในการพัฒนาระบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยจะต้องส่งเสริมสนับสนุนให้ชุมชนและอุทยานแห่งชาติฯ มีส่วนร่วมดำเนินการดังนี้นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงการแก้ไขปัญหาการพัฒนาระบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยความร่วมมือระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัยควบคู่ไปด้วย ซึ่งการแก้ไขปัญหาประกอบด้วยประเด็นที่สำคัญ คือต่องเร่งการสร้างองค์กรเพื่อทำหน้าที่สร้างความพร้อมของประชาชนในการเข้าไปมีส่วนร่วมจัดระบบและรูปแบบในการดำเนินภารกิจหน้าที่ของอุทยานแห่งชาติในภาพรวม ยกระดับสมรรถนะของการพัฒนาระบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยว จัดทำคู่มือการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน การสร้างหลักสูตรและคู่มือการฝึกอบรมให้ความรู้แก่ประชาชน เพื่อเป็นแนวทางของชุมชนและมหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิในการพัฒนาระบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวร่วมกัน นำองค์ความรู้ เกี่ยวกับ การอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ของชุมชนจังหวัดชัยภูมิเผยแพร่สู่สาธารณะตลอดจนกระตุ้นให้เกิดนวัตกรรมใหม่ในองค์กรเพื่อการพัฒนาศักยภาพไปสู่ระดับการแข่งขันในเวทีโลก และเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเพื่อให้การดำเนินงานมุ่งไปสู่ผลลัพธ์ (Output) ที่พึงประสงค์ คือ พัฒนาระบบการจัดการแหล่งท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนโดยความร่วมมือระหว่างชุมชนกับมหาวิทยาลัย และมุ่งไปสู่เป้าหมายขององค์การภาครัฐซึ่งเป็นตัวชี้วัดผลสำเร็จระดับประเทศ (Ultimate Outcome) คือ ความกินดี อยู่ดี มีสุข ของประชาชนต่อไป

Downloads

Download data is not yet available.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-04-2019

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research Articles)