การศึกษารูปแบบภาษานิยมในบทสนทนาภาษาไทย
Main Article Content
Abstract
บทความเรื่อง “การศึกษารูปแบบภาษานิยมในบทสนทนาภาษาไทย” นี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษารูปแบบภาษานิยมและรูปแบบภาษาที่ไม่นิยมในบทสนทนาภาษาไทยโดยเก็บข้อมูลจากบทสนทนาที่เกิดขึ้นจริงจำนวน 20 บทสนทนา จากนั้นนำข้อมูลมาแบ่งตามประเภทของคู่วัจนกรรมได้เป็น 9 ประเภท คือ คู่วัจนกรรมการทักทายการขอร้อง การเสนอ การถาม การประเมิน การชม การตำหนิ การเชิญชวน และการกล่าวลา จำนวนทั้งสิ้น 864 คู่วัจนกรรม ต่อมาศึกษารูปแบบในการตอบสนองที่ปรากฏในผลัดที่สองของคู่วัจนกรรม เพื่อแยกตามประเภทของรูปแบบการตอบสนองและพิจารณาว่ารูปแบบใดเป็นรูปแบบภาษานิยมและรูปแบบภาษาที่ไม่นิยม จากนั้นนำข้อมูลทั้งหมดมาเปรียบเทียบกับแนวคิดเรื่องรูปแบบภาษานิยมและรูปแบบภาษาที่ไม่นิยมในบทสนทนาภาษาอังกฤษที่ Sacks (1974), Psathas (1995) และ Levinson (1986) ได้เสนอไว้ และพิจารณาว่าค่านิยมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันมีผลต่อการยอมรับรูปแบบภาษาที่ผู้ร่วมสนทนาใช้ตอบสนองกันหรือไม่
จากการศึกษาพบว่า รูปแบบภาษานิยมและรูปแบบภาษาที่ไม่นิยมในคู่วัจนกรรมการทักทายและการกล่าวลาในบทสนทนาภาษาไทย จะเป็นไปตามแนวคิดที่ Sacks และคนอื่นๆ เสนอไว้ ทั้งนี้ อาจเป็นเพราะคำทักทายและคำกล่าวลาเป็นภาษาสากลซึ่งสามารถพบได้ในทุกชาติทุกภาษา เพื่อใช้เริ่มต้นและสานสัมพันธ์ระหว่างกัน โดยอาจมีการใช้ทั้งภาษาพูดและภาษาท่าทางประกอบการทักทายและกล่าวลา ในขณะที่รูปแบบภาษานิยมและรูปแบบภาษาที่ไม่นิยมในคู่วัจนกรรมการขอร้อง, การถาม, การประเมิน, การตำหนิ และการเชิญชวนในบทสนทนาภาษาไทยจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับแนวคิดที่ Sacks และคนอื่นๆ เสนอไว้ในบทสนทนาภาษาอังกฤษ แต่กลวิธีที่คนไทยใช้ในการตอบสนองจะมีความแตกต่างไป โดยคนไทยนิยมที่จะพูดอ้อมค้อมมากกว่า ส่วนรูปแบบภาษานิยมและรูปแบบภาษาที่ไม่นิยมในคู่วัจนกรรมการเสนอและการชมในบทสนทนาภาษาไทย จะมีลักษณะที่แตกต่างไปจากแนวคิดที่ Sacks และคนอื่นๆ เสนอไว้ในบทสนทนาภาษาอังกฤษ เนื่องจากค่านิยมและวัฒนธรรมของคนไทยโดยเฉพาะในเรื่องความเกรงใจ ส่งผลให้เกิดความแตกต่างในการตอบสนอง ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่า ค่านิยมและวัฒนธรรมที่แตกต่างกันส่งผลต่อการเลือกใช้รูปแบบภาษานิยมและรูปแบบภาษาที่ไม่นิยมแตกต่างกันไปArticle Details
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.