ความหลากหลายของ ภาษาและชาติพันธุ์: ทรัพยากรล้ำค่าหรือปัญหาที่แก้ไม่ตก
Main Article Content
Abstract
เอเชียอาคเนย์เป็นบริเวณที่มีความหลากหลายของภาษาและชาติพันธุ์มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ประเทศไทยซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเอเชียอาคเนย์ จึงมีความหลากหลายของภาษาและชาติพันธ์เป็นอย่างมาก บทความนี้เสนอความหลากหลายของภาษาและชาติพันธุ์ในเอเชียอาคเนย์ ผลงานการศึกษาการกระจายตัวกลุ่มภาษาและชาติพันธุ์ในประเทศไทย ซึ่งมีกว่า 60 กลุ่ม พร้อมทั้งลักษณะทางนิเวศน์ สถานภาพทางสังคม ความสำคัญและปัญหาด้านอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่เกิดจากอิทธิพลของภาวะกระแสโลกในปัจจุบัน รวมทั้งนโยบายภาษาในระดับชาติ และการจัดการในระดับท้องถิ่น ที่นำไปสู่การขัดแย้ง การเสื่อมสลาย หรือการฟื้นฟูและการดำรงอยู่ของชุมชนภาษาและชาติพันธุ์ต่างๆ และนำเสนอแนวคิดที่ต่างกันเกี่ยวกับความหลากหลายของภาษาและชาติพันธุ์ กล่าวคือความหลากหลายเป็นปัญหาที่แก้ไม่ตก หรือความหลากหลายเป็นทรัพยากรที่มีค่า ซึ่งนำไปสู่วิธีดำเนินการที่ต่างกัน ในช่วงท้ายได้เสนอบทบาทของการศึกษาวิจัยและกิจกรรมทางวิชาการ ที่เอื้อต่อการสร้างองค์ความรู้ที่เป็นฐานของการสร้างโอกาสแกกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยและการบำรุงรักษามรดกของมนุษยชาติ เช่น การพัฒนาภาษาเพื่อการจัดการศึกษาแก่ชนกลุ่มน้อย การบันทึกองค์ความรู้และโครงการฟื้นฟูภาษาและวัฒนธรรมในภาวะวิกฤต เป็นต้น
Article Details
How to Cite
เปรมศรีรัตน์ ส. (2015). ความหลากหลายของ ภาษาและชาติพันธุ์: ทรัพยากรล้ำค่าหรือปัญหาที่แก้ไม่ตก. Journal of Language and Culture, 23(1), 15. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLC/article/view/32386
Section
Research Articles
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.