สามแพร่งกับการฟื้นฟูชุมชน : ปฏิบัติการทางวาทกรรม เพื่อการอยู่ร่วมกันผ่านทุนทางวัฒนธรรม
Main Article Content
Abstract
บทความเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ระบบความคิดพื้นฐานของการให้ความหมายต่อพื้นที่ชุมชนสามแพร่งที่มีความแตกต่างกันระหว่างสำนักงานทรัพย์สิน
ส่วนพระมหากษัตริย์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคาร และผู้เช่า การให้ความหมายที่แตกต่างกันนี้นำมาซึ่งแนวทางการดำเนินงานการพัฒนาพื้นที่ที่แตกต่างกัน ในตอนท้ายของบทความเป็นการนำเสนอ “แพร่งโมเดล” ซึ่งน่าจะเป็นกลวิธีหนึ่งของการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารและผู้เช่าตามแนวความคิดทางสันติวิธี ทั้งนี้ เริ่มต้นด้วยการค้นหาความคิดที่มีร่วมกันในการพัฒนาพื้นที่ การเปิดเวทีสานเสวนาเพื่อพูดคุยกันอย่างสร้างสรรค์ และการนำความคิดร่วมของทั้งสองฝ่ายมาเสนอเป็น“แพร่งโมเดล” โดยแบ่งการพัฒนาพื้นที่ออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการพาณิชย์ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านที่อยู่อาศัย และด้านการอนุรักษ์และการเรียนรู้ โมเดลดังกล่าวนี้จะเป็นการสอดประสานความต้องการของทั้งสองฝ่ายในการพัฒนาพื้นที่ได้อย่างลงตัว ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนสามแพร่งกลายเป็นชุมชนที่สามารถพึ่งตนเองอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน และเป็น “ชุมชนพัฒนาต้นแบบ” ของการคลี่คลายความขัดแย้งอย่างเป็นรูปธรรม
ส่วนพระมหากษัตริย์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคาร และผู้เช่า การให้ความหมายที่แตกต่างกันนี้นำมาซึ่งแนวทางการดำเนินงานการพัฒนาพื้นที่ที่แตกต่างกัน ในตอนท้ายของบทความเป็นการนำเสนอ “แพร่งโมเดล” ซึ่งน่าจะเป็นกลวิธีหนึ่งของการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืนระหว่างเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินและอาคารและผู้เช่าตามแนวความคิดทางสันติวิธี ทั้งนี้ เริ่มต้นด้วยการค้นหาความคิดที่มีร่วมกันในการพัฒนาพื้นที่ การเปิดเวทีสานเสวนาเพื่อพูดคุยกันอย่างสร้างสรรค์ และการนำความคิดร่วมของทั้งสองฝ่ายมาเสนอเป็น“แพร่งโมเดล” โดยแบ่งการพัฒนาพื้นที่ออกเป็น 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการพาณิชย์ ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านที่อยู่อาศัย และด้านการอนุรักษ์และการเรียนรู้ โมเดลดังกล่าวนี้จะเป็นการสอดประสานความต้องการของทั้งสองฝ่ายในการพัฒนาพื้นที่ได้อย่างลงตัว ซึ่งจะช่วยให้ชุมชนสามแพร่งกลายเป็นชุมชนที่สามารถพึ่งตนเองอย่างเข้มแข็งและยั่งยืน และเป็น “ชุมชนพัฒนาต้นแบบ” ของการคลี่คลายความขัดแย้งอย่างเป็นรูปธรรม
Article Details
Section
Research Articles
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.