การศึกษาเปรียบเทียบเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยกรุงเทพฯ ที่พูดโดยคนไทยและคนอินเดีย : กรณีศึกษาปัจจัยเพศ

Main Article Content

กันตินันท์ เพียสุพรรณ

Abstract

งานวิจัยนี้เป็นการวิเคราะห์เปรียบเทียบการออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยกรุงเทพฯ ของคนไทยและคนอินเดียที่พูดภาษาฮินดีเป็นภาษาแม่ โดยศึกษาปัจจัยเพศที่มีผลในการใช้ภาษา  เก็บข้อมูลโดยใช้รายการคำที่เป็นคู่ของคำสระเสียงสั้นและสระเสียงยาวที่มีโครงสร้างพยางค์ใกล้เคียงกันจำนวน 16 คู่ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการฟังและใช้โปรแกรม praat เพื่อแสดงค่าความถี่มูลฐานรวมถึงแสดงสัทลักษณะของเสียงวรรณยุกต์ทั้ง 5 หน่วยเสียงและใช้สถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า การออกเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยกรุงเทพฯ ของคนไทยและคนอินเดียมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-values <0.05) ในทุกเสียงวรรณยุกต์ โดยคนอินเดียทั้งเพศหญิงและเพศชายมีค่าความถี่มูลฐานที่สูงกว่าคนไทย เมื่อพิจารณาสัทลักษณะของเสียงวรรณยุกต์ พบว่าคนอินเดียเพศหญิงมีสัทลักษณะคล้ายคนไทยมากกว่าคนอินเดียเพศชาย โดยเฉพาะการออกเสียงคำสระเสียงสั้นและในคำพยางค์ตายและคนอินเดียเพศหญิงและเพศชายสามารถออกเสียงวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับได้ดีกว่าวรรณยุกต์ระดับ โดยสามารถออกเสียงวรรณยุกต์จัตวาได้คล้ายคลึงกับคนไทยมากที่สุด

Article Details

How to Cite
เพียสุพรรณ ก. (2014). การศึกษาเปรียบเทียบเสียงวรรณยุกต์ภาษาไทยกรุงเทพฯ ที่พูดโดยคนไทยและคนอินเดีย : กรณีศึกษาปัจจัยเพศ. Journal of Language and Culture, 33(2), 65–89. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLC/article/view/24037
Section
Research Articles