การประเมินหน้าที่ด้านความเรียงในบทแปลภาษาไทยสองสำนวน ของหนังสือเรื่อง เดอะโพรเฟ็ท ของคาลิล ยิบราน โดยใช้โมเดลของยูลีอาเนอ เฮาส์

Main Article Content

สุชาดา แสงสงวน

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบคุณภาพงานแปลภาษาไทยสองสำนวนของหนังสือ เดอะโพรเฟ็ท ของคาลิล ยิบราน โดยใช้โมเดลการประเมินคุณภาพงานแปลของยูลีอาเนอ เฮาส์ และมุ่งศึกษาเฉพาะหน้าที่ด้านความเรียงของใจความหลัก เนื่องจากมีความโดดเด่นมากที่สุดในต้นฉบับ ผลการศึกษาพบว่า ภายใต้องค์ประกอบ 3 ประการของหน้าที่ด้านความเรียง ได้แก่ พลวัตของใจความหลัก การเชื่อมโยงของอนุพากย์ และการเชื่อมโยงด้วยรูปประโยค ในสำนวนแปลที่ 1 ของระวี ภาวิไล มีจำนวนหน่วยไม่ตรงเป็นสัดส่วน 17.86 % ส่วนสำนวนแปล 2 ของหม่อมหลวงประมูลมาศ อิศรางกูร มีจำนวนหน่วยไม่ตรงเป็นสัดส่วน 35.00 % นอกจากนี้ ผลการวิเคราะห์ทำเนียบภาษาของเฮาส์ในขอบเขตสัมพันธสาร ความสัมพันธ์ของคู่สื่อสาร และแบบวิธีสัมพันธสาร ซึ่งเป็นแนวคิดจากภาษาศาสตร์ระบบหน้าที่ของไมเคิล ฮัลลิเดย์ พบว่า ในภาพรวมแล้วสำนวนแปลที่ 1
มีจำนวนหน่วยไม่ตรงน้อยกว่า ซึ่งบ่งบอกว่ามีคุณภาพการแปลสูงกว่าสำนวนแปล 2 จาก
ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงว่า โมเดลของเฮาส์ใช้เป็นวิธีการหนึ่งเพื่อประเมินคุณภาพงานแปลประเภทร้อยแก้วเชิงร้อยกรองจากต้นฉบับภาษาอังกฤษเป็นสำนวนแปลภาษาไทยได้และใช้เปรียบเทียบคุณภาพงานแปลของบทแปลหลายสำนวนภาษาไทยได้

Article Details

How to Cite
แสงสงวน ส. (2014). การประเมินหน้าที่ด้านความเรียงในบทแปลภาษาไทยสองสำนวน ของหนังสือเรื่อง เดอะโพรเฟ็ท ของคาลิล ยิบราน โดยใช้โมเดลของยูลีอาเนอ เฮาส์. Journal of Language and Culture, 33(2), 45–64. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLC/article/view/24036
Section
Research Articles