การเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สมัยอาณานิคม : มองผ่านการผลิตและบริโภคกาแฟ
Main Article Content
Abstract
บทความนี้มุ่งศึกษาการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สมัยอาณานิคม (คริสต์ศตวรรษที่ 17-กลางคริสต์ศตวรรษที่ 20) โดยศึกษากรณีการผลิตและบริโภคกาแฟ ซึ่งเป็นพืชพาณิชย์ที่ชาติตะวันตกผลักดันให้เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ผลิตเพื่อป้อนตลาดโลก ผลการศึกษาพบว่า สมัยอาณานิคมเป็นช่วงเวลาที่ชาติมหาอานาจตะวันตกได้นาระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเข้ามาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทาให้ภูมิภาคนี้มีการผลิตกาแฟในลักษณะของไร่ขนาดใหญ่ โดยคนพื้นเมืองในประเทศที่เป็นอาณานิคมของตะวันตก ถูกกดขี่เป็นแรงงานเพื่อให้ชาติตะวันตกได้บริโภคผลผลิตกาแฟในราคาถูกตามหลักการทุนนิยม ด้านการบริโภคกาแฟในภูมิภาคนี้ ผู้บริโภคกาแฟระยะแรกคือ ชาวตะวันตกที่มาอยู่ในดินแดนอาณานิคม (ส่วนกรณีของสยาม ผู้บริโภคระยะแรกคือ ชนชั้นสูง) และมีการตั้งร้านกาแฟตามแบบของสังคมตะวันตก ก่อนที่วัฒนธรรมการบริโภคกาแฟจะค่อยๆขยายตัวไปสู่ชนชั้นกลาง และกาแฟได้กลายเป็นเครื่องดื่มที่เป็นส่วนประกอบหนึ่งของวิถีชีวิตแบบสมัยใหม่ของคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่นเดียวกับที่เป็นอยู่ในสังคมตะวันตก
Article Details
Section
Research Articles
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.