คันจิในบทบาทของหน่วยคำเติม

Main Article Content

นฤมล ลี้ปิยะชาติ

Abstract

บทความนี้เป็นการศึกษาอักษรคันจิหรืออักษรจีนที่ใช้ในภาษาญี่ปุ่น ในบทบาทหน้าที่ของการเป็นหน่วยคำเติม (affix)

อักษรคันจิเป็นอักษรสัญลักษณ์ที่สามารถสื่อความหมายได้ภายในอักษร 1 ตัว สำหรับคนไทยที่เรียนภาษาญี่ปุ่นจะต้องพบกับปัญหาตัวเขียนที่ต่างกับอักษรไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งอักษรคันจิซึ่งนอกจากจะมีจำนวนมารแล้ว เมื่อนำเข้ามาใช้ในภาษาญี่ปุ่นยังมีเสียงอ่านที่หลากหลาย ดังนั้นการศึกษาคันจิโดยแยกเฉพาะกลุ่มที่เป็นหน่วยคำเติม ทั้งหน่วยคำเติมหน้า (prefix) และหน่วยคำเติมหลัง (suffix) จะช่วยให้ผู้เรียนได้ทำความเข้าใจและรู้จักความหมายของอักษรคันจิได้มากขึ้น

เมื่อศึกษาอักษรคันจิโดยแยกศึกษาเฉพาะหน่วยคำเติม และแยกหน่วยคำเติมออกไปตามกลุ่มความหมายและกลุ่มการใช้ จะทำให้เกิดการเรียนรู้คันจิทั้งในด้านความหมายและการใช้ในการประสมคำ ผู้เรียนจะได้รู้จักคันจิที่ใช้ในการประสมคำ สามารถเข้าใจความหมายและจดจำคันจิได้ดีขึ้น คันจิที่เคยเป็นปัญหาใหญ่ในการเรียนอาจจะกลายเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้เรียนจดจำได้มากขึ้นก็เป็นได้

Article Details

Section
Research Articles
Author Biography

นฤมล ลี้ปิยะชาติ

ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา