ประสบการณ์แปล กรณีดำเนินรายการวิทยุภาคภาษาเขมร
Main Article Content
Abstract
ผู้เขียนเคยดำเนินรายการวิทยุ “เสียงจากบางกอก”ภาคภาษาเขมร ในประเทศไทย และพบวา การใช้ภาษาเขมรในรายการมีความแตกต่าง ได้แก่ พื้นฐานของผู้ดำเนินรายการซึ่งมีทั้งสัญชาติไทยและกัมพูชา กลุ่มผู้ฟังที่หลากหลายสถานที่ของข่าวสารที่มักเกิดขึ้นในประเทศไทยหรือกล่าวถึงเกี่ยวกับประเทศไทย ความห่างไกลจากสังคมกัมพูชาต้นฉบับที่นำมาแปลมักเป็นภาษาไทย เนื้อหาของข่าวสาร ล้วนแล้วแต่ทำให้งานแปลเป็นภาษาเขมรมีอิธิพลภาษาไทยอยู่อย่างเลี่ยงไม่ได้ ทำให้เกิดคำยืมจากภาษาไทยและอิทธิพลของภาษาไทยจำนวนมากในรายการ รวมทั้งภาษาที่ใช้ไม่ตรงกับที่มีใช้ในภาษาเขมรมาตรฐานเท่าใดนัก เนื่องจากความห่างไกลจากสังคมกัมพูชาและสสาเหตุต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น การใช้ภาษาเขมรในรายการวิทยุนี้จึงจัดได้ว่าเป็นภาษาเขมรที่มีความแตกต่างจากภาษาเขมรมาตรฐานในกรุงพนมเปญมากทีเดียว นอกจากนี้ยังทำให้เห็นสาเหตุหนึ่งของการสัมผัสภาษา อันเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดคำยืม และคำซ้อนขึ้นในภาษา
Article Details
How to Cite
เสาทอง ช. (2014). ประสบการณ์แปล กรณีดำเนินรายการวิทยุภาคภาษาเขมร. Journal of Language and Culture, 25(1), 48. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLC/article/view/22972
Section
Research Articles
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.