อัตลักษณ์ผู้นำ ในการบริหารคุณภาพเทศบาลที่เป็นเลิศ
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเชิงสำรวจครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษา (1) รูปแบบของอัตลักษณ์ผู้นำเทศบาล (2) การบริหารคุณภาพเทศบาลที่เป็นเลิศ และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารคุณภาพเทศบาลที่เป็นเลิศกับอัตลักษณ์ผู้นำ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยนายกเทศมนตรีเทศบาลนคร นายกเทศมนตรีเทศบาลเมือง และนายกเมศมนตรีเทศบาลตำบล รวมทั้งสิ้น 1,033 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง ผู้วิจัยได้ทดสอบความเที่ยงตรงของเครื่องมือ (validity และความเชื่อมั่นของเครื่องมือ (reliability) โดยวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่า (Cronbach method) มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.99 ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้ใช้สถิติเชิงพรรณา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย (X) และค่าเบี่ยงเบนมาตรรฐาน (SD) ส่วนสถิติเชิงอนุมานได้แก่ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์คาโนนิคอล (canonical correlation analysis) ให้หาค่าความสัมพันธ์ของตัวแปรต้นและตัวแปรตาม
ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
1.รูปแบบอัตลักษณ์ผู้นำเทศบาล ประกอบด้วย ผู้นำตามลักษณะเด่น ผู้นำตามพฤติกรรม ผู้นำตามสถานการณ์ และผู้นำการเปลี่ยนแปลง
2.การบริหารคุณภาพเทศบาลที่เป็นเลิศ ประกอบด้วย การนำองค์กร การวางแผนเชิงกลยุทธ์ การมุ่งเน้นประชาชน การวัดการวิเคราะห์และการจัดการความรู้ การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล การจัดการกระบวนการ และผลลัพธ์ทางการบริหาร
3.การทดสอบระดับความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารคุณภาพเทศบาลที่เป็นเลิศกับอัตลักษณ์ผู้นำ โดยตั้งสมมติฐานการวิจัย 5 สมมติฐาน ปรากฏว่าอัตลักษณ์ผู้นำทั้ง 4 ด้าน มีความสัมพันธ์กับการบริหารคุณภาพเทศบาลที่เป็นเลิศ และยังพบว่า อัตลักษณ์ผู้นำตามสถานการณ์มีบทบาทในการบริหารคุณภาพเทศบาลโดดเด่นกว่าอัตลักษณ์ผู้นำด้านอื่นๆArticle Details
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.