สถานการณ์ทางภาษาในสังคมไทยกับความหลากหลายทางชาติพันธุ์
Main Article Content
Abstract
ประเทศไทยเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายซับซ้อนของทางภาษาและชาติพันธุ์ มีภาษาทั้งหมด 70 กลุ่มภาษา โดยแต่ละกลุ่มนั้นอยู่ในตระกูลภาษา 5 ตระกูล คือ ไท,ออสโตรเอเชียติก, จีน-ทิเบต, ม้ง-เมี่ยน และออสโตรเนเซียน ภาษาต่างๆนั้นมีความสัมพันธ์เชิงสังคมเป็นระดับบชั้น กล่าวคือ ภาษาไทยมาตรฐานอยู่ในระดับสูงสุด เป็นภาษาที่ใช้ในการศึกษาและสื่อสารมวลชน รองลงมาได้แก่ภาษาไทยถิ่นตามภูมิภาค ได้แก่ ภาษาคำเมือง ภาษาลาวอีสาน ภาษาปักษ์ใต้และภาษาไทย (กลาง) ซึ่งใช้เป็นภาษากลางของคนกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยต่างๆ ในพื้นที่ส่วนภาษาของชุมชนท้องถิ่น จัดเป็นภาษาพลัดถิ่น ภาษาในเมือง ภาษาตามแนวชายแดน และภาษาในวงล้อม คนกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนมากมักจะสามารถใช้ภาษาสองภาษาหรือสามภาษาในสถานการณ์ที่ต่างกัน อิทธิพลของโลกาภิวัตน์และนโยบายภาษาของประเทศมีส่วนทำให้ภาษาต่างๆ อยู่ในภาวะถดถอย ในขณะนี้มีอย่างน้อยถึง 14 ภาษาที่กำลังอยู่ในภาวะวิกฤตใกล้สูญ แต่อย่างไรก็ตามมีความพยายามจากบางกลุ่มชนที่ยังมีพลังและความพยายามที่สงวนรักษาภาษาของตนไว้ ส่วยในเขตชายแดนยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดใหญ่ยังคงต่อสู้ดิ้นรนที่จะดำรงตนอย่างมีศักดิ์ศรีในสังคมไทย
Article Details
How to Cite
เปรมศรีรัตน์ ส. (2014). สถานการณ์ทางภาษาในสังคมไทยกับความหลากหลายทางชาติพันธุ์. Journal of Language and Culture, 25(2), 5. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLC/article/view/22359
Section
Research Articles
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.