เรือยาวคลองบางเชือกหนัง

Main Article Content

วราภรณ์ มนต์ไตรเวศย์

Abstract

การคมนาคมขนส่งทางน้ำ มีบทบาทสำคัญยิ่งต่อการพัฒนากรุงเทพมหานครมาแต่อดีตประชาชนได้อาศัยแม่น้ำลำคลองเป็นเส้นทางสัญจรตลอดมา แม้ในปัจจุบันสภาพการขนส่งโดยทั่วไปของกรุงเทพมหานครจะพึ่งพาการขนส่งทางบกเป็นสำคัญ แต่ในหลายๆ พื้นที่ของกรุงเทพมหานคร การขนส่งทางน้ำยังมีบทบาทสำคัญอยู่ เช่น ในย่านชานเมืองฝั่งธนบุรี พื้นที่ริมคลองบางเชือกหนัง เป็นชุมชนหนึ่งที่ชาวบ้านสองฝั่งคลองมีชีวิตผูกพันกับสายนน้ำและเรือ เรือหางยาวเป็นหนึ่งในรูปแบบการสัญจรทางน้ำในพื้นที่ดังกล่าวตลอดระยะเวลาเกือบ 40 ปี ที่มีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนในท้องถิ่น ทั้งในการขนส่งผลผลิตทางการเกษตรและการเดินทางเข้าสู่เมือง ตลอดจนเป็นเครื่องแสดงถึงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม ความรู้ ความสามารถของคนในชุมชนในการเสาะแสวงหาคิดค้นปรับประยุกต์นำความรู้ต่างๆ มาช้ในการพัฒนารูปลักษณ์ของเรือ และการเดินเรือให้มีประสิทธิภาพ เหมาะสมกับสภาพแวดล้อม และการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสังคมที่เกิดขึ้นในชุมชน โดยไม่หลงลืมที่จะถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับเรือหางยาวสืบต่อไปยังคนรุ่นหลัง ไม่ว่าจะเป็นความเชื่อ พิธีกรรม กฎเกณฑ์ ข้อห้าม ข้อปฏิบัติต่างๆ ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกันของผู้คนในชุมชน ทั้งในส่วนของคนขับเรือและผู้โดยสาร ก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่สร้างความผูกพัน และดึงดูดให้ผู้คนยังคงโดยสารเรือหางยาว เรือหางยาวจึงยังคงอยู่คู่กับคลองบางเชือกหนังดังเช่นในอดีต แม้จะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมที่เอื้อให้การคมนาคมขนส่งทางน้ำสูญหายหรือหมดความสำคัญไปก็ตาม

Article Details

Section
Research Articles