สถานการณ์ทางภาษาในสังคมไทยกับความหลากหลายทางชาติพันธุ์

Main Article Content

สุวิไล เปรมศรีรัตน์

Abstract

ประเทศไทยเป็นดินแดนที่มีความหลากหลายซับซ้อนทางภาษาและชาติพันธุ์ มีภาษาทั้งหมด 70 กลุ่มภาษา โดยแต่ละกลุ่มนั้นอยู่ในตระกูลภาษา 5 ตระกูล คือ ไทย. ออสโตรเอเชียติก, จีน-ทิเบต, ม้ง-เมี่ยน และออสโตรเนเซียน ภาษาต่างๆ นั้นมีความสัมพันธ์เชิงสังคมเป็นระดับชั้น กล่าวคือ ภาษาไทยมาตรฐานอยู่ในระดับสูงสุด เป็นภาษาที่ใช้ในการศึกษาและสื่อสารมวลชน รองมาได้แก่ภาษาไทยถิ่นตามภูมิภาค ได้แก่ ภาษาคำเมือง ภาษาลาวอีสาน ภาษาปักษ์ใต้และภาษาไทย (กลาง) ซึ่งใช้เป็นภาษากลางของคนกลุ่มชาติพันธุ์ย่อยต่างๆ ในพื้นที่ส่วนภาษาของชุมชนท้องถิ่น จัดเป็นภาษาพลัดถิ่น ภาษาในเมือง ภาษาตามแนวชายแดน และภาษาในวงล้อม คนกลุ่มชาติพันธุ์ส่วนมากมักจะสามารถใช้ภาษาสองภาษาหรือสามภาษาในสถานการณ์ที่ต่างกัน อิทธิพลของโลกาภิวัตน์และนโยบายภาษาของประเทศมีส่วนทำให้ภาษาต่างๆ อยู่ในภาวะถดถอย ในขณะนี้มีอย่างน้อยถึง 14 ภาษาที่กำลังอยู่ในภาวะวิกฤตใกล้สูญ แต่อย่างไรก็ตามมีความพยายามจากบางกลุ่มที่ยังมีพลังและความพยายามที่สงวนรักษาภาษาของตนไว้ ส่วนในเขตชายแดนยังมีกลุ่มชาติพันธุ์ขนาดใหญ่ยังคงต่อสู้ดิ้นรนที่จะดำรงตนอย่างมีศักดิ์ศรีในสังคมไทย

Article Details

Section
Research Articles