ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันทางความหมายของคำและกลวิะีการแปลที่ปรากฏในวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง "The Happiness of Kati" ของ Prudence Borthwick
Main Article Content
Abstract
บทความนี้นำเสนอผลการศึกษาเรื่อง ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันทางความหมายของคำและกลวิธีการแปลที่ปรากฏในวรรณกรรมเยาวชนเรื่อง “The Happiness of Kati” ของ Prudence Borthwick โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาความไม่เท่าเทียมกันทางความหมายของคำระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ และเพื่อศึกษากลวิธีการแปลที่ช่วยแก้ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันทางความหมายของคำ กลุ่มตัวอย่าง คือ หนังสือ “The Happiness of Kati” ของ บอร์ธวิก และ “ความสุขของกะทิ” ของงามพรรณ เวชชาชีวะ โดยการเก็บรวบรวมข้อมูลคำศัพท์ทุกคำที่มีความหมายภาษาอังกฤษไม่เท่าเทียมกับความหมายภาษาไทยเป็นไปตามแนวคิดของโมนา เบเคอร์ (2005)
ผลการศึกษาสนับสนุนสมมติฐานที่ว่า (1) ความไม่เท่าเทียมกันทางความหมายของคำและความแตกต่างทางวัฒนธรรมระหว่างภาษาต้นฉบับกับภาษาฉบับแปลก่อให้เกิดปัญหาในการแปล และ (2) ผู้แปลใช้กลวิธีต่างๆ เพื่อแก้ปัญหาที่เกิดจากความไม่เท่าเทียมกันทางความหมายของคำและความแตกต่างทางวัฒนธรรม กล่าวคือ ปัญหาที่เกิดจากความไม่เท่าเทียมกันทางความหมายของคำสามารถจำแนกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ การไม่ปรากฏคำในภาษาฉบับแปล และคำในภาษาต้นฉบับมีความหมายต่างจากคำในภาษาฉบับแปล นอกจากนี้ ผู้แปลใช้กลวิธีการแปลทั้งสิ้น 6 วิธี ได้แก่ การใช้คำยืมหรือการใช้คำยืมกับคำอธิบาย การถอดความ การใช้คำที่มีความหมายเฉพาะเจาะจง การใช้คำที่มีความหมายกล้างกว่าภาษาต้นฉบับ การละ และการใช้คำจ่ากลุ่ม เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวArticle Details
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.