วัฒนธรรมองค์กรของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบวัฒนธรรมองค์กรของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท และเปรียบเทียบรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรของสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท ตามปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรที่ใช้เป็นบุคลากรสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท ในปีงบประมาณ 2550 จำนวน 86 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, t-test, F-test และการทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีการของ Scheffé โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่าสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบทมีรูปแบบวัฒนธรรมองค์กรแบบสร้างสรรค์ แบบตั้งรับ-เฉื่อยชา และแบบตั้งรับ-ก้าวร้าว อยู่ในระดับปานกลางทั้ง 3 รูปแบบ โดยค่าเฉลี่ยของวัฒนธรรมองค์กรแบบตั้งรับ-เฉื่อยชาสูงกว่าแบบสร้างสรรค์และแบบตั้งรับ-ก้าวร้าว และปัจจัยส่วนบุคคลที่แตกต่างกัน คือ ประเภทของบุคลากรมีผลต่อการรับรู้วัฒนธรรมองค์กรArticle Details
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.