ผู้สูงอายุไทย...สูงวัยอย่างมีคุณค่าและศักดิ์ศรี
Main Article Content
Abstract
บริบททางสังคมและเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างครอบครัว และครัวเรือน ผู้สูงอายุที่เคยเป็นหัวหน้าครัวเรือน เป็นผู้รับผิดชอบทางด้านเศรษฐกิจและสวัสดิภาพของสมาชิกในครอบครัวถูกลดบทบาทลง ทำอย่างไรจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกว่าตนเองยังมีบทบาท มีศักดิ์ศรี และมีคุณค่าต่อสังคมและครอบครัว ความรู้สึกมีศักดิ์ศรีและมีคุณค่ามีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับความเชื่อมั่นในตนเอง มีผลต่อสภาวะจิตใจที่ดี และมีผลต่อสุขภาพ
จากการทบทวนวรรณกรรมและเก็บข้อมูลผู้สูงอายุที่มีอายุ 80 ปีขึ้นในจังหวัดนครปฐม พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อการมีอายุยืนยาว ได้แก่ ความรู้สึกมีศักดิ์ศรีและคุณค่า การมีศาสนาเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ การไม่กำหนดเป้าหมายในชีวิตที่เข้มงวดเกินไป และการมีสัมพันธภาพที่อบอุ่นภายในครอบครัว
การจะทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกมีคุณค่าและศักดิ์ศรีนั้น ทั้งผู้สูงอายุและสมาชิกในครอบครัวต้องปรับตัวทั้งสองฝ่ายในส่วนผู้สูงอายุต้องปรับกระบวนทัศน์ใหม่ว่า ผู้สูงอายุต้องทันสมัย แสวงหาความรู้อยู่ตลอดเวลา ต้องมีหน้าที่ในการทำให้ตนเองแข็งแรง ในส่วนของสมาชิกครอบครัวและสังคมควรเปลี่ยนกระบวนทัศน์ว่าผู้สูงอายุไม่ใช่ภาระแต่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่คุณค่าArticle Details
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.