การประเมินและสังเคราะห์สถานภาพองค์ความรู้การวิจัยวัฒนธรรม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ: ความหลาหลายทางชาติพันธุ์
Main Article Content
Abstract
วัตถุประสงค์ของบทความนี้ คือ เพื่อประเมินสถานภาพความจำเป็น ระเบียบวิธีวิจัยวิเคราะห์สถานภาพองค์ความรู้การวิจัยวัฒนธรรมและสังเคราะห์สถานภาพองค์ความรู้การวิจัยวัฒนธรรมในด้านความหลากหลายทางชาติพันธุ์ การเก็บข้อมูลทุติยภูมิ ในงานวิจัย หนังสือ วิทยานิพนธ์ และบทความ ในระหว่างปี พ.ศ. 2536-2546
ผลการศึกษา พบว่า 1. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นภาคที่ประกอบด้วยกลุ่มประชากรที่มีเชื้อสายกลุ่มชาติพันธุ์ไท-ลาว/ไทยลาว เป็นส่วนใหญ่ 2.ลักษณะการวิจัยส่วนใหญ่เป็นการวิจัยภาคสนาม และเป็นการศึกษาชุมชน 3. การวิเคราะห์สถานภาพองค์ความรู้การวิจัย จำแนกได้เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ ระบบความเชื่อกับวิถีชีวิตวัฒนธรรม พลวัตวิถีชุมชนชาติพันธุ์ และระบบภูมิปัญญากับวิถีชีวิตวัฒนธรรม และ 4. การสังเคราะห์สถานภาพองค์ความรู้ สามารถจำแนกเป็นแนวทางการศึกษาในด้านวิถีชีวิตวัฒนธรรม การเปลี่ยนแปลงทางสังคม กระบวนการปรับตัว และกระบวนการสร้างความเป็นชาติพันธุ์ นอกจากนี้ สามารถจำแนกเป็นแนวความคิดทางทฤษฎี คือ ทฤษฎีโครงสร้างและหน้าที่ และทฤษฎีหลังทันสมัยนิยม ตลอดจนแนวความคิดที่ใช้ศึกษา คือ พลวัตวิถีชุมชน อัตลักษณ์ ระบบความเชื่อกับวิถีชีวิตวัฒนธรรม และระบบภูมิปัญญากับวิถีชีวิตวัฒนธรรมArticle Details
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.