การสร้างระบบเขียนสำหรับภาษาชาติพันธ์: เครื่องมือในการอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญาด้านภาษา

Main Article Content

สุวิไล เปรมศรีรัตน์

Abstract

ภาษาท้องถิ่นของชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ เป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญ แม้ว่าประเทศไทยจะมีความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม แต่ในปัจจุบันภาษาของชุมชนท้องถิ่นต่างๆ อยู่ในภาวะถดถอยเป็นอย่างมาก มีผลต่อการสูญเสียภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านต่างๆ บทความนี้เสนอแนวทางในการอนุรักษ์ฟื้นฟูภาษาโดยการสร้างระบบการเขียนแก่ภาษากลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อเป็นเครื่องมือในการบันทึกและสืบสานภูมิปัญญา ภาษาและวัฒนธรรม ด้วยการบูรณาการความรู้ด้านสัทศาสตร์ สัทวิทยาในการสร้างระบบเขียนร่วมกับความรู้และความต้องของชุมชนของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ ดังตัวอย่างจากภาษาชอง, ญัฮกุร, มลายูปาตานี และเขมรถิ่นไทย เป็นต้น โดยมีการพัฒนาระบบเขียนเป็น 3 ประเภท คือ 1) การสร้างระบบเขียนสำหรับภาษาที่ไม่เคยมีมาก่อน 2) การพัฒนาปรับปรุงระบบเขียนที่มีมาแต่เดิมเพื่อใช้ประโยชน์ในพื้นที่เป้าหมายได้ด้วย และ 3) การพัฒนาระบบเขียนเพื่อเชื่อมโยงไปสู่อักษรดั้งเดิม ทั้งนี้ การมีส่วนร่วมในการสร้างระบบเขียน นับว่าเป็นความภาคภูมิใจของชุมชนเจ้าของภาษาเป็นอย่างยิ่งและเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากชุมชนเจ้าของภาษาเป็นผู้ที่จะนำไปใช้ นอกจากนี้ การสร้างระบบเขียนยังเป็นกระบวนการในการสร้างความเข้มแข็งแก่ชุมชน และระบบเขียนเป็นอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมที่ชัดเจนที่สุดอย่างหนึ่งของกลุ่มชน

Article Details

How to Cite
เปรมศรีรัตน์ ส. (2014). การสร้างระบบเขียนสำหรับภาษาชาติพันธ์: เครื่องมือในการอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญาด้านภาษา. Journal of Language and Culture, 26(1-2), 18. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLC/article/view/22082
Section
Research Articles