ปะหล่อง
Main Article Content
Abstract
บทความนี้เป็นบทความปริทัศน์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมผลงานบทความและนำเสนอสถานภาพของการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับกลุ่มชาติพันธุ์และภาษาปะหล่อง (Palaung) ส่วนแรกเป็นผลงานการจัดแบ่งภาษาต่างๆ ในสาขาปะหล่อง (Palaungic branch) ซึ่งเป็นกลุ่มภาษาในตระกูลย่อยภาษามอญ-เขมร (Mon-Khmer subfamily) ของตระกูลภาษาออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic language family) เริ่มจากการจัดแบ่งของชมิดท์ (1906) จนถึงการจัดแบ่งของดิฟฟลอธ (1974) และมิตานิ (1978) ส่วนที่สองเป็นผลงานเกี่ยวกับภาษาปะหล่อง ซึ่งเริ่มจากผลงานของ Milne (1921, 1931) และผลงานของชอร์โต (1960, 1963) นักวิชาการที่มีผลงานชิ้นสำคัญทั้งในการสืบสร้างภาษาปะหล่องดั้งเดิมและการจัดแบ่งภาษาในสาขาปะหล่อง คือ ยาซูยูกิ มิตานิ (1977, 1978, 1979) ส่วนผลงานของเฮอร์แมน แยนเซ่น (1976, 1978, 1991) เป็นการวิเคราะห์โครงสร้างไวยากรณ์และระบบเสียงของภาษาปะหล่อง ซึ่งแยนเซ่นใช้ชื่อว่า ปะเล (Pale) ทั้งการจัดแบ่งกลุ่มภาษาและการวิเคราะห์ภาษาปะหล่องทั้งหมดเป็นของนักวิชาการตะวันตก โดยเฉพาะชาวอังกฤษที่สามารถเข้าถึงพื้นที่ในประเทศพม่าได้ ส่วนสุดท้ายเป็นผลงานเกี่ยวกับชาวปะหล่องในประเทศไทย ซึ่งเริ่มต้นเมื่อชาวปะหล่องหรือเรียกโดยใช้ชื่อที่พวกเขาเรียกตนเองว่า “ดาระอาง” เคลื่อนย้ายเข้ามาตั้งหลักแหล่งในประเทศไทยที่บ้านนอแล ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2525-2527 ผลงานส่วนใหญ่เกี่ยวกับชาวปะหล่องในประเทศไทยเป็นผลงานเกี่ยวกับการโยกย้ายถิ่นจากประเทศพม่า ชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรม ศาสนา ความเชื่อ ปัญหาการเป็นบุคคลไรสัญชาติ การปรับเปลี่ยนการดำรงชีวิตในสภาพแวดล้อมใหม่ๆ แต่การศึกษาทางด้านภาษาปะหล่องยังมีน้อยมาก ดังนั้น การศึกษาทางด้านภาษาและการศึกษาวิเคราะห์ชื่อเรียกกลุ่มชาติพันธุ์ปะหล่องจึงเป็นประเด็นที่น่าสนใจศึกษาต่อไป
Article Details
How to Cite
ดีผดุง ส. (2014). ปะหล่อง. Journal of Language and Culture, 27(1), 99. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLC/article/view/21949
Section
Review Articles
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.