การจัดการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติเขมรในจังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา
Main Article Content
Abstract
บทความนี้ได้นำเสนอสถานการณ์การจัดการสุขภาพของแรงงานข้ามชาติเขมรในพื้นที่จังหวัดชายแดนไทย-กัมพูชา ซึ่งมีความสลับซับซ้อนมากกว่าพื้นที่อื่นๆ ที่รัฐไทยควรให้ความสำคัญเป็นพิเศษโดยศึกษาลักษณะการให้บริการ รูปแบบการใช้บริการของแรงงานข้ามชาติเขมร ยุทธศาสตร์และวิธีการรับมือกับปัญหาของสถานพยาบาล รวมทั้งแนวทางการจัดบริการสุขภาพในพื้นที่ชายแดน บทความนี้ได้ใช้วิธีการศึกษาจากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์ระดับลึกกับผู้บริหารโรงพยาบาล ผู้ทรงคุณวุฒิในพื้นที่ที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องกัมพูชา ผู้รับผิดชอบด้านแรงงานข้ามชาติของสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด นักการเมืองท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชนในพื้นที่ ผู้ป่วยและแรงงานเขมรทั้งที่ขึ้นทะเบียนและไม่ขึ้นทะเบียนที่มารับบริการจากโรงพยาบาลในจังหวัดสระแก้ว จันทบุรี ตราด และสุรินทร์ ระหว่างเดือนมกราคม 2550 - กุมภาพันธ์ 2551 ผลการศึกษาได้เสนอให้รัฐไทยใช้แนวคิดเรื่องความมั่นคงทางด้านสุขภาพมาเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยกำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจน ขณะเดียวกันก็ต้องหามาตรการเร่งรัดให้แรงงานข้ามชาติเหล่านี้มาขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้อง
Article Details
Section
Research Articles
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.