ดนตรีบาทวิถึ ความบันเทิงบนทางเท้า
Main Article Content
Abstract
ดนตรีบาทวิถีเป็นการแสดงสาธารณะที่พบเห็นได้บ่อยครั้งในกรุงเทพฯ มีแง่มุมเชิงสังคมและเชิงดนตรีที่น่าสนใจ ผู้เขียนได้ศึกษาดนตรีบาทวิธีใน 3 เนื้อหาสำคัญ ได้แก่ (1) การศึกษาประวัติความเป็นมาเพื่อแสดงให้เห็นภาพรอยต่อระหว่างนักตนตรีบาทวิถีในอดีตก่อนที่จะมาเป็นนักดนตรีบาทวิถีในปัจจุบัน (2) การศึกษานักดนตรีบาทวิถีรูปแบบต่างๆ โดยเน้นไปที่การสะท้อนสภาพความเป็นไปของเหล่านักดนตรีบาทวิถีที่ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมเมือง และ (3) การศึกษาเรื่องดนตรีและการแสดงของนักดนตรีบาทวิถี ซึ่งการศึกษาในครั้งนี้ใช้แนวทางการวิจัยแบบชาติพันธุ์วรรณนา ผลที่ได้จากการศึกษามีดังนี้
ด้านการศึกษาประวัติความเป็นมาพบว่า ในอดีตผู้ที่ประกอบอาชีพดังกล่าวถูกเรียกขานในนามวณิพก ผู้เดินทางร่อนเร่ไปตามสถานที่ต่างๆ เพื่อร้องเพลงแลกกับข้าวสารอาหารแห้ง วณิพกจะร้องเพลงดำเนินเรื่อง ทำนองเพลงมีจังหวะกระชั้น ฟังรุกเร้า สนุกสนานชวนติดตาม แต่ในปัจจุบัน วณิพกลักษณะดังกล่าวได้เลือนหายไปจากสังคมไทยกลายเป็นนักดนตรีบาทวิถีเล่นเครื่องดนตรีหลากหลายประเภท
ด้านรูปแบบของดนตรีบาทวิถีพบว่า นักดนตรีบาทวิถีมีความหลากหลายไม่ว่าจะเป็นความหลากหายด้านลักษณะกายภาพของนักดนตรีที่มีทั้งผู้มีร่างกายปรกติและผู้พิการ ด้านอายุและวัย ด้านดนตรีและการแสดง รวมไปถึงด้านจุดมุ่งหมายของนักดนตรี
ด้านการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับดนตรีและการแสดง พบว่ามีความหลากหลายเช่นกัน ทั้งในด้านของเครื่องดนตรีที่มีทั้งการนำเอาเครื่องดนตรีพื้นบ้าน เครื่องดนตรีไทย เครื่องดนตรีสากล และเครื่องดนตรีพิเศษมาแสดงในรูปแบบการแสดงเดี่ยวและการรวมกลุ่มแสดง เพลงที่นำมาแสดงก็มีมากมายหลายแนว ซึ่งการเลือกบทเพลงมาแสดงนั้น มีทั้งจากความชื่นชอบส่วนตัวและการคำนึงถึงกลุ่มผู้ชมเป็นสำคัญArticle Details
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.