บทสนทนากับการวิเคราะห์การสนทนาและการพัฒนาอย่างยั่งยืน
Main Article Content
Abstract
บทความนี้เป็นการประมวลและสังเคราะห์ผลการศึกษาบทสนทนาจากวิทยานิพนธ์ของนักศึกษาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งใช้แนวคิดการวิเคราะห์การสนทนา (Sacks, Schegloff & Jefferson, 1974) ผลงานทั้ง 3 ผลงานมีจุดร่วมที่เหมือนกันในเรื่องระบบโครงสร้างและองค์ประกอบการสนทนา อาทิ การผลัดกันพูด คู่วัจนกรรม และการปรับแก้ แต่ก็มีข้อแตกต่างกันในรายละเอียด แม้ว่าการวิเคราะห์โครงสร้างการสนทนาพัฒนามาจาก การศึกษาระเบียบวิธีชาติพันธุ์ (ethnomethodology) ที่ให้ความสาคัญทั้งสังคมและบริบท แต่เมื่อ “การวิเคราะห์การสนทนา” ได้พัฒนาแนวคิดที่เป็นระบบของตนเองก็ไม่ได้ให้ความสาคัญเรื่องสังคมและบริบทมากนัก คงเน้นแต่เรื่องของระบบและโครงสร้างการสนทนาเท่านั้น อย่างไรก็ดี ผลจากการศึกษาทั้ง 3 ผลงานที่ใช้ข้อมูลการสนทนาจาก 3 แวดวงการสนทนา ทาให้บทสังเคราะห์นี้เสนอว่า บริบทขององค์กร/สถาบันและบริบททางวัฒนธรรมควรต้องนามาเป็นส่วนสาคัญในการวิเคราะห์โครงสร้างการสนทนาด้วย กล่าวคือ การวิเคราะห์บทสนทนาด้วยการใช้แนวคิด “การวิเคราะห์การสนทนา – CA” น่าจะต้องเสริมด้วยแนวคิด “การวิเคราะห์การสนทนา เชิงประยุกต์ – Applied CA” ทั้งนี้เพื่อให้ผลการศึกษานั้นๆ นาไปสู่การใช้บทสนทนาเพื่อ การพัฒนาที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
Article Details
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.