เพลงลาวแพน: ประวัติศาสตร์การเมืองในเพลง
Main Article Content
Abstract
บทความนี้นาเสนอให้เห็นถึงบริบททางประวัติศาสตร์การเมืองที่มีส่วนในการสร้างอุดมการณ์ให้ชนชั้นปกครองของรัฐไทย อันนาไปสู่กระบวนการจัดการวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างหรือขัดแย้งกับอุดมการณ์รัฐ ซึ่งส่งผลต่อการสร้างความรู้ของเพลงลาวแพน โดยนาแนวคิดวงศาวิทยามาศึกษาวิเคราะห์ และรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางประวัติศาสตร์ การสัมภาษณ์ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์และดนตรี ทั้งในประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว จากการศึกษาพบว่า บริบททางสังคมและการเมืองที่มุ่งเน้นการสร้างเอกลักษณ์ของชาติและความเป็นไทย ทั้งในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์และประชาธิปไตย มีส่วนต่อการสร้างและนิยามความหมายให้กับสิ่งต่างๆ ที่มีความแตกต่างไปจากอุดมการณ์รัฐ ในที่นี้คือความเป็นลาวที่ปรากฏอยู่ในเพลงลาวแพน ซึ่งถูกจัดการให้เปลี่ยนความหมายไปจากเดิม ซึ่งเคยเป็นวาทกรรมของชาวลาวที่ผลิตขึ้นเพื่อปะทะและต่อต้านกับอานาจการปกครองของสยามในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ไปสู่การนิยามความหมายใหม่ และถูกใช้เป็นเครื่องมือในการปลูกฝังอุดมการณ์รัฐสู่ประชาชนในชาติโดยสถาบันทางสังคม ผลของการสร้างและนิยามความหมายใหม่ของเพลงลาวแพนดังกล่าว จึงส่งผลต่อการรับรู้ความหมายของเพลงลาวแพนในปัจจุบันที่เปลี่ยนไป
Article Details
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.