รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ไทใหญ่ศึกษาของวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

โยธิน บุญเฉลย

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบและตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ไทใหญ่ศึกษาของวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน โดยมีวิธีการดำเนินการวิจัย 4 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาข้อมูลเพื่อใช้ยกร่างรูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ไทใหญ่ศึกษา ขั้นตอนที่ 2 การยกร่างรูปแบบศูนย์ไทใหญ่ศึกษาโดยสังเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนแรก ขั้นตอนที่ 3 การตรวจสอบรูปแบบศูนย์ไทใหญ่ศึกษา และขั้นตอนที่ 4 การปรับปรุงรูปแบบศูนย์ไทใหญ่ศึกษาโดยการนำผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 3 มาสังเคราะห์เป็นรูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ไทใหญ่ศึกษา ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ไทใหญ่ศึกษามีองค์ประกอบสำคัญ 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 เหตุผลและความจำเป็น ส่วนที่ 2 ลักษณะสำคัญของศูนย์ไทใหญ่ศึกษา ส่วนที่ 3 องค์ประกอบสำคัญของการบริหารจัดการศูนย์ไทใหญ่ศึกษา มี 8 ประการ ส่วนที่ 4 แนวทางการนำรูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ไทใหญ่ศึกษาไปใช้ และส่วนที่ 5 ปัจจัยสนับสนุนรูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ไทใหญ่ศึกษา และผลการตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการโดยผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นว่า รูปแบบการบริหารจัดการมีความเหมาะสมและเป็นไปได้ ส่วนผลการตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการโดยผู้มีส่วนได้เสียมีความเห็นว่า รูปแบบการบริหารจัดการมีความเหมาะสมร้อยละ 95.5 และมีความเป็นไปได้ร้อยละ 95.7

Article Details

How to Cite
บุญเฉลย โ. (2014). รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ไทใหญ่ศึกษาของวิทยาลัยชุมชนแม่ฮ่องสอน. Journal of Language and Culture, 32(2), 95. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLC/article/view/20300
Section
Research Articles