วรรณยุกต์ในภาษาลาวหลวงพระบาง

Main Article Content

วริษา กมลนาวิน

Abstract

การศึกษาเรื่องวรรณยุกต์ในภาษาลาวหลวงพระบางที่ผ่านมานั้น ผู้วิจัยพบในงานวิจัยของรอฟและรอฟ (Roff & Roff, 1956) และ บราวน์ (Brown, 1985) เท่านั้น งานวิจัยชิ้นนี้ต้องการศึกษาว่า วรรณยุกต์ในภาษาลาวหลวงพระบางในปัจจุบันมีความแตกต่างจากงานของนักภาษาศาสตร์ทั้งสองท่านมากน้อยเพียงใด ทั้งนี้ได้เก็บข้อมูลเสียงวรรณยุกต์จากคนลาวในชุมชนบ้านเชียงแมน เมืองจอมเพชร แขวงหลวงพระบาง จำนวน 5-7 คน (คำเดี่ยว 5 คน ประโยค 7 คน) คนลาวในหมู่บ้านนี้ถือเป็นตัวแทนของชาวลาวหลวงพระบางได้เป็นอย่างดีเนื่องจากคนลาวในชุมชนนี้มีอัตราการอพยพโยกย้ายต่ำ อีกทั้งหมู่บ้านดังกล่าวมีอาณาเขตติดกับเมืองหลวงพระบางซึ่งเป็ นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ สังคม และประวัติศาสตร์ และการท่องเที่ยวของแขวงหลวงพระบาง มีแม่น้ำโขงกั้นระหว่างสองเมืองนี้ ผลการวิจัยพบว่า ภาษาลาวหลวงพระบางมี 5 หน่วยเสียงวรรณยุกต์ ประกอบด้วยวรรณยุกต์เปลี่ยนระดับ 4 หน่วยเสียง และวรรณยุกต์คงระดับ 1 หน่วยเสียง เสียงวรรณยุกต์แทบทุกหน่วยเสียงมีสัทลักษณะคล้ายคลึงกับเสียงวรรณยุกต์ที่ บราวน์ (Brown, 1965) เคยนำเสนอไว้ ยกเว้นวรรณยุกต์ที่ 1 หากบราวน์เก็บข้อมูลจากคนในชุมชนเมืองหลวงพระบางหรือเมืองใกล้เคียง เช่น ที่เมืองจอมเพชร ก็อาจกล่าวได้ว่า ภายในเวลาเกือบ 50 ปี ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1965 ที่บราวน์ได้ศึกษาเสียงไว้ ระบบเสียงภาษาลาวหลวงพระบางมีการเปลี่ยนแปลงไปเพียงเล็กน้อยในแง่ของสัทลักษณะ แต่จำนวนเสียงวรรณยุกต์ยังคงมีเท่าเดิม

Article Details

How to Cite
กมลนาวิน ว. (2014). วรรณยุกต์ในภาษาลาวหลวงพระบาง. Journal of Language and Culture, 32(2), 43. retrieved from https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLC/article/view/20299
Section
Research Articles