ภาษาศาสตร์ประยุกต์เพื่อการพัฒนา: ฟื้นคน ฟื้นภาษา ในภาวะวิกฤต

Main Article Content

สุวิไล เปรมศรีรัตน์

Abstract

บทความนี้เสนอแนวคิดการศึกษาภาษาศาสตร์ประยุกต์เพื่อการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นการบูรณาการศาสตร์ทางภาษากับศาสตร์อื่นๆ โดยเป็นการพัฒนาภาษาท้องถิ่นหรือภาษาชาติพันธุ์ต่างๆ ให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มศักยภาพและช่วยพัฒนาบุคคล ชุมชน หรือสังคม ทั้งนี้บทความเน้นศึกษาเพื่อพัฒนาชุมชนภาษาภาวะวิกฤตเสี่ยงต่อการสูญหาย อันมีผลต่อการสูญเสียความรู้ท้องถิ่นซึ่งผูกติดกับภาษา รวมทั้งศึกษาและพัฒนาชุมชนวิกฤตอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม โดยใช้แนวทางการวิจัยเชิงปฏิบัติการที่เรียกว่า “วิจัยเพื่อท้องถิ่น” ซึ่งชุมชนเจ้าของเป็นเจ้าของโครงการและเป็นผู้ดำเนินการเอง โดยมีนักวิชาการทางภาษาเป็นผู้สนับสนุนเสริมวิชาการทางด้านภาษาร่วมกับนักวิชาการด้านอื่นๆ อันเป็นการฟื้ นความมั่นใจในตนเองและความเป็นชาติพันธุ์ของตน พร้อมกับการฟื้ นฟูการใช้ภาษาท้องถิ่น บทความนี้กล่าวถึงแนวคิดและวิธีการดำเนินงานตามรูปแบบของ “มหิดลโมเดล” ซึ่งมีลำดับและขั้นตอนการดำเนินงาน ประกอบด้วยการวิจัยขั้นพื้นฐาน การพัฒนาระบบเขียนการสร้างวรรณกรรมท้องถิ่น การสอนภาษาท้องถิ่นในโรงเรียนหรือการจัดการเรียนการสอนแบบทวิภาษา/พหุภาษาศึกษา การจัดทำ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน การศึกษาวิจัยองค์ความรู้ท้องถิ่นด้านต่างๆ การดูแลติดตามและประเมินผล การสร้างเครือข่ายการทำงานและการผลักดันนโยบายภาษาแห่งชาติที่สนับสนุนการรักษาความหลากหลายทางภาษา

Article Details

Section
Research Articles