ชุดกริยาในภาษาไทย: กริยาเรียงหรืออื่นใด?
Main Article Content
Abstract
การวิจัยนี้เป็นการศึกษาวิเคราะห์ชุดกริยาในภาษาไทย เพื่อศึกษาและจำแนกหน่วยสร้างกริยาเรียงออกเป็นกริยาเรียงต้นแบบและกริยาเรียงที่ลดความเป็นต้นแบบ และเพื่อศึกษาหน้าที่ทางไวยากรณ์ของคำกริยาในกริยาเรียงประเภทหลัง โดยมีกรอบแนวคิดของไวยากรณ์หน้าที่นิยมแบบลักษณ์ภาษาและแนวคิดเชิงประวัติเกี่ยวกับการกลายเป็นคำไวยากรณ์และหมวดหมู่ไวยากรณ์ที่เหลื่อมซ้อนกัน โดยรวบรวมข้อมูลจากการศึกษาวิจัยกริยาเรียงที่ผ่านมารวมถึงการใช้ภาษาไทยทั่วไปในปัจจุบัน ผลการวิจัยพบว่า หน่วยสร้างกริยาเรียงต้นแบบมีกริยาทุกคำเป็นกริยาแท้เป็นภาคแสดงที่ซับซ้อน มีความสัมพันธ์ทางความหมายปรากฏใน 6 ลักษณะ ส่วนหน่วยสร้างกริยาเรียงที่ลดความเป็นต้นแบบ มีกริยาคำหนึ่งเป็นกริยาแท้และกริยาคำอื่นไม่ใช่กริยาแท้ มีวากยสัมพันธ์ปรากฏใน 6 ลักษณะด้วยกัน
Article Details
Section
Research Articles
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.