อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับความตายในภาษาไทย
Main Article Content
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับความตายที่สะท้อนให้เห็นได้จากถ้อยคำอุปลักษณ์ที่ปรากฏในหนังสืออนุสรณ์ฌาปนกิจศพที่ตีพิมพ์ระหว่างปี พ.ศ.2521 – 2550 โดยใช้ทฤษฎีอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ของเลคอฟฟ์และจอห์นสัน (Lakoff and Johnson 1980) ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผลการวิจัยไม่เพียงแสดงให้เห็นถึงอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับความตายในภาษาไทย แต่ยังสะท้อนแนวคิดของคนไทยที่มีต่อความเชื่อเรื่องการตายที่เกี่ยวพันกับศาสนาได้เป็นอย่างดี และทำให้เข้าใจถึงพื้นฐานความคิดของคนไทยที่แม้จะเป็นที่รู้กันโดยทั่วไปว่า พุทธศาสนาเป็นศาสนาหลักของในประเทศไทย แต่คนไทยยังมีความเชื่อส่วนหนึ่งเป็นแบบลัทธิวิญญาณนิยมหรือนับถือผี ซึ่งเป็นความเชื่อตั้งแต่สมัยโบราณก่อนที่จะรับพุทธศาสนาเข้ามา ด้วยเหตุนี้ คนไทยส่วนใหญ่จึงเชื่อกันว่า ความตายเป็นเพียงความสิ้นสุดของสภาวะร่างกาย แต่วิญญาณยังคงอยู่ต่อไปเพื่อเวียนว่ายตายเกิดอย่างไม่สิ้นสุด ซึ่งความเชื่อในเรื่องวิญญาณอมตะที่ดำรงอยู่ได้หลังความตายนี้ไม่ใช่ความเชื่อทางพุทธศาสนา แต่เป็นความเชื่อในศาสนาพราหมณ์ การศึกษาถ้อยคำอุปลักษณ์ที่คนไทยใช้ในการกล่าวถึงความตายนี้สามารถสะท้อนอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับความตายในวัฒนธรรมไทยได้เป็นอย่างดี
Article Details
Section
Research Articles
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.