การตั้งชื่อกับชาติพันธุ์ละเวือะ บ้านป่าแป๋ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

Main Article Content

คันธรส วิทยาภิรมย์

Abstract

การตั้งชื่อไม่ว่าของชนชาติใดล้วนเป็นสิ่งสาคัญและจำเป็นเพื่อใช้ในการระบุตัวตนแต่ละชนชาติอาจจะมีรูปแบบการตั้งชื่อต่างๆ กันไปตามบริบทของสังคมนั้น ในประเทศไทยมีกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งที่เรียกตนเองว่า “ละเวือะ” อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดแม่ฮ่องสอน และเชียงใหม่ (บุคคลทั่วไปจะรู้จักชนกลุ่มนี้ในนามของ “ละว้า”) งานวิจัยเรื่องนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะที่มา และภาษาที่ใช้ในการตั้งชื่อ รวมทั้งศึกษาสิ่งที่สะท้อนจากการตั้งชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ละเวือะ (ละว้า) บ้านป่าแป๋ ตาบลป่าแป๋ อาเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน งานวิจัยนี้ใช้แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสังเกต และได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ 1 อายุระหว่าง 1-20 ปี กลุ่มที่ 2 อายุระหว่าง 21-40 ปี และกลุ่มที่ 3 อายุระหว่าง 41-60 ปี จานวน 96 คน ผลการศึกษาพบว่าที่มาของการตั้งชื่อมี 3 ลักษณะ คือ 1) ตั้งชื่อตามบรรพบุรุษ 2) ตั้งชื่อตามลักษณะเด่นของบุคคล 3) ตั้งชื่อตามบุคคลสำคัญและจำนวนภาษาที่ใช้มี 5 ภาษา ได้แก่ ภาษาละเวือะ ภาษากะเหรี่ยง ภาษาคำเมือง ภาษาไทยมาตรฐาน และภาษาอังกฤษ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นมโนทัศน์ของการตั้งชื่อของชาวละเวือะที่ยังคงให้ความสาคัญกับชื่อที่เป็นภาษาละเวือะซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงอัตลักษณ์ของกลุ่ม และในขณะเดียวกันก็ไม่ปฏิเสธสิ่งใหม่ที่เข้ามาสู่ชุมชนซึ่งมีการเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมตามยุคสมัย

Article Details

Section
Research Articles