การศึกษาปัญหาในการแปลการเล่นคำในการ์ตูนขำขันภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ
Main Article Content
Abstract
บทความนี้ มุ่งเน้นศึกษาปัญหา และการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการลงมือปฏิบัติการแปลการเล่นคำโดยผู้วิจัย ทั้งนี้ ผู้วิจัยได้สุ่มเลือกการ์ตูนขำขันประเภทการเล่นคำที่จบภายในหน้าเดียว โดยใช้เกณฑ์การแบ่งการเล่นคำของชลดา เรืองรักษ์ลิขิต ซึ่งมี 6 ชนิด คือ การเล่นคำที่มีความหมายสัมพันธ์กัน การเล่นคำที่มีเสียงสัมผัสกัน การเล่นคำพ้อง การเล่นคำโดยแปลความหมายตรงตามตัวอักษร การเล่นคำอุทานเสริมบท และการเล่นคำๆเดียวกันแต่เรียงลำดับต่างกัน ผลการศึกษาพบว่า ผู้วิจัยประสบปัญหาในการแปลการเล่นคำ 6 ประการ คือ ปัญหาการรักษาวิธีการเล่นคำ ปัญหาการรักษาอารมณ์ขัน ปัญหาการถ่ายทอดทางวัฒนธรรม ปัญหาด้านข้อจำกัดของช่องการ์ตูน ปัญหาหลังการทดสอบบทแปล และปัญหาการแปลไม่ได้ นอกจากนี้ ผู้วิจัยใช้วิธีการแก้ไขปัญหาในการแปลการเล่นคำทั้งหมด 4 วิธี ได้แก่ การแปลแบบตรงตัว การแปลแบบเอาความ การแปลโดยปรับเปลี่ยนเนื้อเรื่อง และการแปลโดยการตัดการเล่นคำ ทั้งนี้เพื่อให้บทแปลการเล่นคำสอดคล้องกับขอบเขตของประสบการณ์ของผู้อ่านฉบับแปลโดยการยึดภาพประกอบของการ์ตูนและวัฒนธรรมของฉบับแปลเป็นหลัก
Article Details
Section
Research Articles
The articles featured in the Journal of Language and Culture (JLC) constitute academic works representing the viewpoints of the respective author(s). It is crucial to note that these opinions do not necessarily reflect those of the Editorial Board.
All articles published in JLC are released under the Creative Commons Attribution 4.0 International License (CC BY 4.0). This license grants permission for unrestricted use, distribution, and reproduction in any medium, provided proper credit is given to the original author(s) and the source.