ช่วงเวลาเริ่มเสียงก้องของพยัญชนะกักในภาษาไทยมาตรฐานสำเนียงใต้และภาษาไทยมาตรฐาน

Main Article Content

ตามใจ อวิรุทธิโยธิน

Abstract

บทความนี้มุ่งศึกษาและเปรียบเทียบช่วงเวลาเริ่มเสียงก้อง (voice onset time) ของพยัญชนะกักในภาษาไทยมาตรฐานสำเนียงใต้ (ภาษาไทยมาตรฐานที่ออกเสียงไม่ชัดหรือไม่ถูกต้องโดยคนใต้) และภาษาไทยมาตรฐาน ผู้ให้ข้อมูล 20 คน (2 กลุ่ม x 2 เพศ x 5 คน) ออกเสียงคำที่ต้องการในกรอบประโยคคำละ 3 ครั้ง รายการคำสร้างขึ้นจากพยัญชนะต้นกัก 6 หน่วยเสียง (/b/, /d/, /p/, /t/, /ph/, /th/) ร่วมกับสระขอบ 3 หน่วยเสียง (/i/, /a/, /u/) ในการวิเคราะห์ทางกลสัทศาสตร์ได้ใช้โปรแกรมพราต (Praat) และทดสอบระดับความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติด้วยt-Test ที่ระดับ p<0.05 ผลการศึกษาพบว่าช่วงเวลาเริ่มเสียงก้องของพยัญชนะกักระหว่างภาษาไทยมาตรฐานสำเนียงใต้และภาษาไทยมาตรฐานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทุกลักษณะการออกเสียง (manner of articulation) ความแตกต่างมีมากในพยัญชนะกักไม่ก้องพ่นลม (/ph/, /th/) ก้อง (/b/, /d/) และ ไม่ก้องไม่พ่นลม (/p/, /t/) ตามลำดับ นอกจากนี้ การศึกษาครั้งนี้ยังพบอีกว่าในขณะที่ช่วงเวลาเริ่มเสียงก้องของพยัญชนะกักในภาษาไทยมาตรฐานแบ่งได้เป็น 3 ประเภทเช่นเดียวกันกับผลการศึกษาที่ผ่านมา แต่ช่วงเวลาเริ่มเสียงก้องของพยัญชนะกักในภาษาไทยมาตรฐานสำเนียงใต้โดยเฉพาะที่ออกเสียงโดยผู้ให้ข้อมูลเพศชายแบ่งได้เป็น 2 ประเภทเท่านั้นคือ “ก้อง” และ “ไม่ก้อง” เนื่องจากคนกลุ่มนี้มักออกเสียงพยัญชนะกัก “ไม่ก้องพ่นลม” แบบเดียวกันกับ “ไม่ก้องไม่พ่นลม”

Article Details

Section
Research Articles